Page 105 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 105

ความหมายของสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                  และเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้ไร้อำานาจจากผู้มีอำานาจด้วยเช่นกัน

                           แม้ว่าประเทศไทยจะลงนามเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาหลายฉบับ แต่ประเทศไทยยังคง

                  มีการตั้งข้อสงวนในประเด็นสิทธิบางเรื่อง เช่น เรื่องการลงโทษประหารชีวิต ดังนั้น หากรัฐบาลไทย
                  ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และตระหนักถึงความสำาคัญของสิทธิมนุษยชนแล้ว การปฏิบัติตามสนธิสัญญา
                  ข้างต้นจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนได้อย่างเด่นชัด  สอดคล้อง

                  กับพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยได้ให้การรับรองไว้  และเป็นไปตาม

                  เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


                           ๒.๔.๖ รัฐธรรมนูญแห่งร�ชอ�ณ�จักรไทย

                                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิต

                  ดังนี้


                                  - รัฐธรรมนูญแห่งร�ชอ�ณ�จักรไทย พุทธศักร�ช ๒๕๔๐

                                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติรับรองในเรื่อง

                  “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ว่า
                                  “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”
                                  และมาตรา ๒๖ บัญญัติไว้ว่า

                                  “การใช้อำานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                  สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
                                  ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กล่าวถึงคุณค่าของมนุษย์  โดยมีรากฐานอันเป็นสาระ
                  สำาคัญ ๒ ประการ ได้แก่

                                  ๑.  สิทธิในชีวิตและร่�งก�ย  เป็นสิทธิที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิด  และเป็น

                  สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่จำาเป็นอย่างยิ่งต่อการดำารงอยู่ ซึ่งไม่อาจที่จะพรากไปจากบุคคล และเป็น
                  สิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีอิสระที่จะกำาหนดตนเองได้ตามที่ตนต้องการ  ด้วยเหตุนี้สิทธิในชีวิต
                  และร่างกายจึงเป็นรากฐานที่สำาคัญของ  “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์”  ตามที่รัฐธรรมนูญ

                  แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑ ความว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ

                  และเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย  การทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย
                  หรือไร้มนุษยธรรม  จะกระทำามิได้  แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ  ไม่ถือว่า
                  เป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

                                  การจับ  และคุมขัง  ตรวจค้นตัวบุคคล  หรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิ

                  เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”








        92     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110