Page 103 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 103

งดออกเสียง
                           เบลารุส แคเมอรูน คอโมโรส คิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี เอริเทรีย

                  ฟิจิ  กินี  อินโดนีเซีย  จอร์แดน  เคนยา  ลาว  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  มาลาวี  มัลดีฟส์

                  มอริเตเนีย  โมร็อกโก/เวสเทิร์นสะฮารา  นามิเบีย  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  ปาปัวนิวกินี  เซเนกัล
                  หมู่เกาะโซโลมอน เกาหลีใต้ ศรีลังกา ซูรินาเม แทนซาเนีย ไทย เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
                  แซมเบีย (รวม ๓๔ ประเทศ)




                           ไม่เข้�ประชุม
                           แอนติกาและบาร์บูดา อิเควทอเรียลกินี แกมเบีย กานา คิริบาส มอริเชียส



                           สำาหรับมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  (Moratorium)  ต่อการพักการใช้

                  โทษประหารชีวิตชั่วคราวทั้งสามครั้งหลัง ต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย
                            • มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติต่อการพักการใช้โทษประหารชีวิต
                               ที่ ๖๒/๑๔๙ รับรองเมื่อ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ ปรากฏว่า มีประเทศที่เห็นด้วยจำานวน

                               ๑๐๔ ประเทศ ๒๙ ประเทศงดออกเสียง และไม่เห็นด้วย จำานวน ๕๙ ประเทศ

                               โดยประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน
                            • มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ ๖๓/๑๖๘ รับรองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑
                               ปรากฏว่า มีประเทศที่เห็นด้วย จำานวน ๑๐๖ ประเทศ ๓๔ ประเทศงดออกเสียง

                               และไม่เห็นด้วย จำานวน ๔๖ ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่เห็นด้วย

                               หรือคัดค้าน
                            • มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ ๖๕/๒๐๖ รับรองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓
                               ปรากฏว่า  มีประเทศที่เห็นด้วยจำานวน  ๑๐๙  ประเทศ  ๓๕  ประเทศงดออกเสียง

                               และไม่เห็นด้วย จำานวน ๔๑ ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่งดออกเสียง

                            • และมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ ๖๗/๑๗๖ รับรองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕
                               ปรากฏว่า  มีประเทศที่เห็นด้วยจำานวน  ๑๑๑  ประเทศ  ๓๔  ประเทศงดออกเสียง
                               และไม่เห็นด้วย จำานวน ๔๑ ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่งดออกเสียง

                               (Amnesty International, 2012)



                           จากมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติทั้งหมดที่แสดงดังกล่าวข้างต้นได้แสดง
                  ให้เห็นว่าประเทศส่วนใหญ่มีมติที่เห็นด้วยต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ประเทศ

                  ที่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตมีจำานวนที่ลดน้อยลง อันแสดงให้เห็นถึงประเทศสมาชิก

                  ขององค์การสหประชาชาติส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต  และได้แสดงให้เห็น
                  ถึงแนวโน้มของโลกที่ต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต สำาหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕






         90    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108