Page 29 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 29
17
เองของคนพูดและคนฟัง ดังนั้น เทอร์โมมิเตอร์ ที่ท าขึ้นเป็นขีด (scales) ที่แปรเปลี่ยนไปตามระดับความร้อน
28
จึงเป็น “ตัวชี้วัด” หรือ “บอก” ของระดับความร้อนของอากาศ
พรเทพ เมืองแมน ได้สรุปลักษณะส าคัญของตัวชี้วัดไว้ดังนี้
1. ตัวชี้วัดไม่จ าเป็นต้องชี้ หรือบอกสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นย า แต่เป็นเพียงตัวบอกหรือตัวที่
บ่งชี้สิ่งต่างๆ ในลักษณะการประมาณ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าความเป็นจริงบ้าง
2. ตัวชี้วัดจะประกอบด้วยตัวแปรข้อมูลหลายๆ ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อที่จะบ่ง
บอกหรือบ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะกว้างๆ ของสภาพการณ์ของระบบนั้นๆ
3. ตัวชี้วัดที่ใช้บ่งชี้ปริมาณของสิ่งใด ควรก าหนดในลักษณะปริมาณหรือคิดเป็นค่าตัวเลข
หรือค่าที่วัดได้ ไม่ควรก าหนดในลักษณะการบรรยายข้อความล้วนๆ
4. ตัวชี้วัดสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาหนึ่ง หรือระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น
ช่วงเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความไวของการผันแปรของระบบที่น ามาก าหนดเป็นตัวชี้วัด
5. ตัวชี้วัดควรต้องพัฒนามาจากการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการศึกษา เพราะ
29
จะท าให้ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมีความน่าเชื่อถือ
ตัวชี้วัดสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ กล่าวคือ
1) การก าหนดนโยบาย การวางแผน และก าหนดเปูาหมายการด าเนินงานได้อย่าง
ชัดเจน ตรวจสอบได้
2) การประเมิน หรือก ากับติดตามการเปลี่ยนแปลงในระบบการด าเนินงานให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด เพื่อหาทางพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3) การจัดล าดับ หรือระดับคุณภาพการด าเนินงานของหน่วยงาน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการ
พัฒนา และ
4) การศึกษาและพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะ แนวโน้ม
และการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อน าไปสู่การพัฒนาหรือ
30
ปรับปรุงแก้ไขการด าเนินงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพดีขึ้น
วรรณี แกมเกตุ ได้เสนอว่าตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ ควรมีความทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและ
สถานที่ มีความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) ความเป็นปรนัย (Objective) ความเป็นประโยชน์
(Utility) และใช้ปฏิบัติได้จริง (Practical) มีเกณฑ์การวัดและแปลความหมาย มีความไว มีความเฉพาะเจาะจง
28 Victor Jupp. The SAGE Dictionary of Social Research Methods, (London: SAGE Publications), 2006 pp.
144-145.
29 พรเทพ เมืองแมน “การพัฒนาดัชนีบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษา”,
(วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัญฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546), หน้า 30.
30
วรรณี แกมเกตุ “Indicator Development”, [online] Available at
<http://wiki.edu.chula.ac.th/groups/90e28/wiki/b2bf7/indicator_development.html > (10 December
2011)