Page 6 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 6
คำานำา
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หนังสือประมวลศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
และสิทธิมนุษยชนศึกษา เล่ม 2 เกิดจากความตั้งใจของสำานักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ต้องการสร้างความเข้าใจความหมาย และเนื้อหา
ของถ้อยคำาภาษาต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
แก่บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการเผยแพร่ความรู้
ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับบุคคลทั่วไป ดังนั้น ประมวลศัพท์จึงมิใช่เป็นเพียง
การแปลศัพท์ แต่คณะผู้เขียนได้อธิบายศัพท์ให้ครอบคลุมความหมาย
อย่างกว้างในขณะเดียวกันก็พยายามเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าสู่บริบทของ
สิทธิมนุษยชน
มีความยากลำาบากในการจัดทำาหนังสือเล่มนี้หลายประการเนื่องจาก
ศัพท์ที่ปรากฏในหนังสือนี้ส่วนใหญ่เป็นศัพท์ทางด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค ทำาให้มีความหมายเฉพาะ อันอาจจะต่างจากความเข้าใจ
ทั่วไป นอกจากนั้นฐานความผิด กระบวนการ ชื่อตำาแหน่งบุคคล หรือองค์กร
ต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมของกฎหมายบางประเทศ หรือของ
กฎหมายบางระบบ มีรายละเอียดแตกต่างกันยากที่จะหาจุดร่วมที่อธิบาย
ให้ครอบคลุมความทั้งหมดได้ ทำาให้การใช้ภาษาตาม “ภาษากฎหมายไทย”
เพื่อนิยามศัพท์คำาหนึ่ง อาจไม่ตรงกับความหมายในภาษากฎหมายของภาษา
อังกฤษได้ทั้งหมด เช่น คำาว่า “BILL OF INDICTMENT – คำาฟ้องในชั้น
ไต่สวนมูลฟ้อง” หรือ การที่กฎหมายไทยไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง
Lawyer, Solicitor และ Attorney เป็นต้น
v