Page 92 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 92
๓
(๒) ผ่านการอบรมหลักสูตรส าหรับพนักงานเจ้าหน้าที่และผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่ส านักงานก าหนด
(๓) ไม่มีส่วนได้เสียกับงานที่จะปฏิบัติ หรืออาจให้หรือได้รับประโยชน์โดยมิชอบจากการปฏิบัติ
หน้าที่นั้น ๆ
(๔) ไม่เคยถูกคณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๕) ไม่อยู่ระหว่างการถูกด าเนินการทางวินัยหรือทางจริยธรรม
กรณีที่จะแต่งตั้งบุคคลตามข้อ ๗ (๒) เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการอาจมีมติยกเว้น
คุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้
ข้อ ๙ ให้ส านักงานจัดกระบวนการเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๑)
อย่างน้อยทุกสองปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส านักงานก าหนด
หมวด ๒
หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง และการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
ข้อ ๑๐ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ให้กระท าได้เท่าที่จ าเป็นและสมควรแก่กรณี
ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการก าหนดหรือด าเนินการตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับ
ความยินยอมจากบุคคลนั้นและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัดของบุคคลนั้นด้วย
ข้อ ๑๑ ให้ส านักงานตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้ง
ตามข้อ ๗ ที่คณะกรรมการ กรรมการ หรือส านักงานเห็นสมควรแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และเสนอ
ต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
ข้อ ๑๒ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอ านาจออกบัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ส านักงานจัดท าบัตร
ประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เสนอให้ประธานกรรมการพิจารณาลงนามภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
ได้รับแต่งตั้ง โดยให้น ากฎหมายว่าด้วยบัตรประจ าตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาใช้
๒
บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่แบบบัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้
บัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกบัตร
บัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๑๕ และให้
ส่งคืนบัตรประจ าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ส านักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
๒ ข้อ ๑๒ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
แต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕
86