Page 2 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 2

ก



                                                           บทคัดย่อ



                              โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสิทธิของชุมชนในการบริหารจัดการน้้าด้วย
                       แนวทางสันติวิธีในพื้นที่ต้นน้้าของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) วิเคราะห์ช่องว่างสิทธิ

                       ชุมชนในการเข้าถึงและสิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และ 3) จัดท้า

                       ข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเชิงประจักษ์ (evidence-based) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน้าไปใช้
                       ให้เกิดการยกระดับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะด้านทรัพยากรน้้า โดยใช้วิธี

                       วิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูล 3 ลักษณะ คือ 1) แบบสอบถาม ในพื้นที่ลุ่มน้้าน่าน อ้าเภอ

                       เวียงสา และลุ่มน้้าชี อ้าเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ละ 400 ตัวอย่าง 2) สนทนากลุ่มย่อย
                       พื้นที่ละ 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ประกอบด้วย ผู้น้าชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่และ

                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มประชาสังคมและนักวิชาการ และ 3) เวทีรับฟังความคิดเห็นจาก

                       ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมทุกภาคส่วน จ้านวน 50 คน จากนั้นน้าข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ
                       บรรยาย สถิติอ้างอิง วิเคราะห์เนื้อหา การจ้าแนกข้อมูล และการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามเรื่องราว

                       แล้วน้าเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบการพรรณนาวิเคราะห์

                              ผลการศึกษาได้บ่งชี้ถึงสถานการณ์สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการน้้าเชิงสันติวิธีในบริบท
                       สังคมไทยและภายใต้กฎหมายส้าคัญที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งภายใต้เงื่อนการบริหารจัดการน้้าและข้อมูลใน

                       ชุมชนสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อมด้านการส่งเสริมสิทธิชุมชนด้านการบริหารจัดการน้้าตาม

                       แนวทางสันติวิธีในหลายประเด็น ได้แก่ (1) ชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิทธิขั้นพื้นฐานเป็น
                       อย่างดี และมีการร้องเรียนเรื่องสิทธิการขอใช้ประโยชน์จากแหล่งพื้นที่ต้นน้้าในการด้ารงชีวิต หาก

                       ความขัดแย้งมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการไม่ได้รับการตอบสนองในสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีน้้าใช้อย่าง

                       เพียงพอ (2) ชุมชนเห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้และสามารถแก้ไขได้ สะท้อน
                       มุมมองด้านการหาทางออกในเชิงประนีประนอมและพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาโดยใช้ตัวแทนชุมชน

                       เจรจาเชิงสันติวิธีเพื่อหาแนวทางออกร่วมกัน (3) สิทธิชุมชนที่จะให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับการบริหาร

                       จัดการน้้าพบว่าภายใต้กติกาและเงื่อนไขของกรอบกฎหมายท้าให้ชุมชนเข้าถึงสิทธิดังกล่าวได้
                       ยากล้าบาก ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น และ (4)  ชุมชนส่วนใหญ่ต้องการมี

                       แหล่งน้้าที่เพียงพอตลอดฤดูกาล และวิธีการการจัดการทรัพยากรน้้าคือการสร้างฝายชะลอน้้าหรือ

                       เรียกกันว่า “ฝายมีชีวิต”
                              ผลการศึกษาน้าไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ (1) การตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน

                       ในการมีน้้าใช้อย่างเพียงพอด้วยการแก้ปัญหาพื้นที่ต้นน้้าซึ่งเกิดขึ้นทุกปีและการสร้างฝายชะลอน้้าที่
                       สอดคล้องกับบริบทชุมชน (2) กลไกการรับมือและปรับตัวต่อสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยการใช้
   1   2   3   4   5   6   7