Page 41 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 41
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยการกระทำาดังกล่าวข้างต้นเป็นการกระทำา
อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๓๕ ปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๔
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายต่อสำานักงานตำารวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อันได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด สำานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
กรมการปกครอง และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการเน้นย้ำา
และกำาชับไปยังหน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และ
หนังสือสั่งการของหน่วยงาน อย่างเคร่งครัด ในการนำาตัวผู้ต้องหา
ในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าว
ต่อสื่อมวลชน รวมทั้งควรมีการกำาหนดแนวทางวิธีการทดแทนในการนำาตัว
ผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ หรือการจัดทำาแผนประทุษกรรม
เพื่อเป็นประโยชน์ในการแสวงหาพยานหลักฐาน และการดำาเนินคดี รวมทั้ง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้ตัวแสดงสมมุติ
การใช้ผ้าคลุมศีรษะเพื่อปิดบังใบหน้า (ในกรณีที่ไม่มีประจักษ์พยาน
ซึ่งผู้กระทำาความผิดต้องเป็นผู้นำาชี้ที่เกิดเหตุ ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับ
ความสมัครใจและความยินยอมของผู้กระทำาความผิด โดยเจ้าหน้าที่
ต้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ที่ทำาแผนประกอบคำารับสารภาพด้วย)
การจำาลองสถานที่เกิดเหตุ การให้ประจักษ์พยานนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ในแต่ละจุด การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน (กรณีผู้กระทำาความผิด
39