Page 11 - 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
P. 11
๑๐ เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ผู้ร้องอายุ ๑๕ ปี ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. แห่งหนึ่ง ได้มี
หนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สรุปได้ว่า
การที่กระทรวงศึกษาธิการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียน โดยนักเรียนชาย
ต้องตัดผมสั้นเกรียน นักเรียนหญิงต้องตัดผมสั้นเห็นติ่งหู กระทบต่อ
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และในบาง
โรงเรียนอนุโลมให้นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์สามารถไว้ผมยาวได้
ซึ่งการอนุโลมดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติ ตามนัยมาตรา ๓๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยผู้ร้อง
อ้างว่า แบบทรงผมที่กระทรวงศึกษาธิการกำาหนดนั้น ทำาให้นักเรียน
ที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นขาดความมั่นใจและเสียสมาธิในการเรียน ซึ่งจาก
การสัมภาษณ์เด็กนักเรียนในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่า กฎระเบียบ
เรื่องทรงผมเป็นสิ่งที่นักเรียนมีความกังวลมากที่สุด เนื่องจากวัยรุ่น
อยากมีบุคลิกที่ดี สวยงาม ดังนั้น เรื่องทรงผมจึงทำาให้เกิดความ
คับข้องใจมาก และเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะนำามาซึ่งปัญหาอื่น ๆ นอกจากนี้
ได้อ่านพบในบทความของนักวิชาการท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึง
ทรงผมนักเรียนว่า ประเทศไทยรับเอาแบบทรงผมและเครื่องแบบนักเรียน
ต่าง ๆ มาจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งในช่วงนั้นเกิด
การระบาดของเหา ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้นเกรียน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตลอดแล้วเห็นว่า
ในการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการอาศัยอำานาจ
ตามความในข้อ ๓ และข้อ ๑๑ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๒
9