Page 44 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 44

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๓๕
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้  ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุม
                      ตามข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภา  หรือรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  และคุ้มครองไปถึงบุคคล
                      ซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง  หรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม  ตลอดจนผู้ดําเนินการ

                      ถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดซึ่งได้รับอนุญาตจาก
                      ประธานแห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม

                              มาตรา  ๑๒๕  ในระหว่างสมัยประชุม  ห้ามมิให้จับ  คุมขัง  หรือหมายเรียกตัวสมาชิก
                      สภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทําการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
                      เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก  หรือเป็นการจับในขณะกระทําความผิด

                              ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทําความผิด
                      ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน  และเพื่อประโยชน์ในการประชุมสภา

                      ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับเพื่อให้มาประชุมสภาได้
                              ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อน
                      สมัยประชุม  เมื่อถึงสมัยประชุม  พนักงานสอบสวนหรือศาล  แล้วแต่กรณี  ต้องสั่งปล่อยทันทีถ้าประธานแห่งสภา

                      ที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ  โดยศาลจะสั่งให้มีประกันหรือมีประกันและหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
                              ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา  ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอก

                      หรือในสมัยประชุม  ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้  แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่
                      สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา
                              มาตรา  ๑๒๖  ในระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร  ไม่ว่าด้วยเหตุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ

                      สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  หรือเหตุอื่นใด  จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้  เว้นแต่
                              (๑)  มีกรณีที่รัฐสภาต้องดําเนินการตามมาตรา  ๑๗  มาตรา  ๑๙  มาตรา  ๒๐  มาตรา  ๒๑

                      หรือมาตรา  ๑๗๗
                              (๒)  มีกรณีที่วุฒิสภาต้องประชุมเพื่อทําหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดํารงตําแหน่งใดตามบทบัญญัติ
                      แห่งรัฐธรรมนูญ

                              เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง  ให้วุฒิสภาดําเนินการประชุมได้  โดยให้ประธานวุฒิสภานําความ
                      กราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ  และ

                      ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
                              ในกรณีตาม  (๑)  ให้วุฒิสภาทําหน้าที่รัฐสภา  แต่การให้ความเห็นชอบตามมาตรา  ๑๗๗  ต้องมี
                      คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

                              มาตรา  ๑๒๗  การประชุมสภาผู้แทนราษฎร  การประชุมวุฒิสภา  และการประชุมร่วมกัน
                      ของรัฐสภา  ย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละสภา  แต่ถ้าคณะรัฐมนตรี

                      หรือสมาชิกของแต่ละสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  มีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจํานวน






                                                                                                             35




                         .indd   35                                                                               27/8/2562   12:26:54
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49