Page 43 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 43

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๓๔
                   เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                           ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ  หนึ่งให้มีกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
                   แต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไปก็ได้
                           การปิดสมัยประชุมสามัญประจําปีก่อนครบกําหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน  จะกระทําได้ก็แต่

                   โดยความเห็นชอบของรัฐสภา
                           วันประชุมครั้งแรกตามวรรคหนึ่ง  ให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่หนึ่ง

                   ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่สอง  ให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกําหนด  แต่ในกรณีที่
                   การประชุมครั้งแรกตามวรรคหนึ่งมีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่เพียงพอที่จะจัดให้มีการประชุมสมัยประชุมสามัญ
                   ประจําปีครั้งที่สอง  จะไม่มีการประชุมสมัยสามัญประจําปีครั้งที่สองสําหรับปีนั้นก็ได้

                           มาตรา  ๑๒๒  พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา  ทรงเปิดและทรงปิดประชุม
                           พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดําเนินมาทรงทํารัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจําปี

                   ครั้งแรกด้วยพระองค์เอง  หรือจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระรัชทายาทซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว
                   หรือผู้ใดผู้หนึ่ง  เป็นผู้แทนพระองค์  มาทํารัฐพิธีก็ได้
                           เมื่อมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ  พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุม

                   สมัยวิสามัญก็ได้
                           ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๒๓  และมาตรา  ๑๒๖  การเรียกประชุม  การขยายเวลาประชุม  และการปิด

                   ประชุมรัฐสภา  ให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา
                           มาตรา  ๑๒๓  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกัน  หรือสมาชิก
                   สภาผู้แทนราษฎร  มีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

                   มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียก
                   ประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้

                           ให้ประธานรัฐสภานําความกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
                           มาตรา  ๑๒๔  ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่ประชุมวุฒิสภา  หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
                   สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใดในทางแถลงข้อเท็จจริง  แสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน

                   ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด  ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใด ๆ  มิได้
                           เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทาง

                   วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใด  หากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา
                   และการกล่าวถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่
                   รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

                           ในกรณีตามวรรคสอง  ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคําใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี
                   หรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย  ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคําชี้แจงตามที่บุคคลนั้น

                   ร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กําหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น  ทั้งนี้  โดยไม่กระทบ
                   ต่อสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล



                    34





                         .indd   34                                                                               27/8/2562   12:26:54
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48