Page 30 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 30

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๒๑
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร  หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถ
                      ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้  ให้ประธานวุฒิสภาทําหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน

                              ในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทําหน้าที่ประธานรัฐสภาตามวรรคสอง  แต่ไม่มีประธานวุฒิสภา
                      และเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎร  ให้รองประธานวุฒิสภาทําหน้าที่ประธานรัฐสภา

                      ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภา  ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้นทําหน้าที่ประธานรัฐสภา
                      และให้ดําเนินการเลือกประธานวุฒิสภาโดยเร็ว

                              ประธานรัฐสภามีหน้าที่และอํานาจตามรัฐธรรมนูญ  และดําเนินกิจการของรัฐสภา  ในกรณี

                      ประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ
                              ประธานรัฐสภาและผู้ทําหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

                              รองประธานรัฐสภามีหน้าที่และอํานาจตามรัฐธรรมนูญ  และตามที่ประธานรัฐสภามอบหมาย
                              มาตรา  ๘๑  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ  จะตราขึ้นเป็น

                      กฎหมายได้ก็แต่โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
                              ภายใต้บังคับมาตรา  ๑๔๕  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ

                      ที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว  ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์

                      ทรงลงพระปรมาภิไธย  และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
                              มาตรา  ๘๒  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ

                      ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก
                      ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา  ๑๐๑  (๓)  (๕)  (๖)  (๗)  (๘)  (๙)

                      (๑๐)  หรือ  (๑๒)  หรือมาตรา  ๑๑๑  (๓)  (๔)  (๕)  หรือ  (๗)  แล้วแต่กรณี  และให้ประธานแห่งสภา
                      ที่ได้รับคําร้อง  ส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

                              เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา  หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง

                      ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย
                      และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยแล้ว  ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคําวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับ

                      คําร้องตามวรรคหนึ่ง  ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง  ให้ผู้นั้น
                      พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่  แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทําไปก่อนพ้นจากตําแหน่ง

                              มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง
                      เป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

                              ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก

                      วุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง  ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง
                      ได้ด้วย




                                                                                                             21




                         .indd   21                                                                               27/8/2562   12:26:51
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35