Page 29 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 29

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๒๐
                   เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                           รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม  เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรม
                   สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ  ซึ่งต้องไม่ต่ํากว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว

                           มาตรา  ๗๗  รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น  และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย
                   ที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์  หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ

                   โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน  และดําเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ
                   ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

                           ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ  รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์
                   ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ  รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น

                   และการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน  และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน
                   เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว  รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กําหนด

                   โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย  เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม
                   กับบริบทต่าง ๆ  ที่เปลี่ยนแปลงไป

                           รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น  พึงกําหนดหลักเกณฑ์
                   การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ  ที่บัญญัติไว้

                   ในกฎหมายให้ชัดเจน  และพึงกําหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
                           มาตรา  ๗๘  รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ

                   การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
                   ด้านต่าง ๆ  การจัดทําบริการสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น  การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

                   การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ  รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง  และการอื่นใด
                   บรรดาที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน

                                                             หมวด  ๗

                                                              รัฐสภา


                                                             ส่วนที่  ๑
                                                             บททั่วไป


                           มาตรา  ๗๙  รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
                           รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน  ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

                           บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้
                           มาตรา  ๘๐  ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธาน
                   รัฐสภา



                    20





                         .indd   20                                                                               27/8/2562   12:26:51
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34