Page 167 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 167

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๓๗
                   เล่ม   ๑๓๕   ตอนที่   ๑๔   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๙   มีนาคม   ๒๕๖๑



                           การมีส่วนได้เสียของกรรมการในเรื่องที่มีการพิจารณาตามวรรคสาม  ได้แก่
                           (๑) เป็นคู่กรณีหรือเกี่ยวข้องโดยตรง
                           (๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี

                           (๓) เป็นญาติของคู่กรณี  คือ  เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ  หรือเป็นพี่น้องหรือ
                   ลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงสามชั้น  หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น

                           (๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม  หรือผู้อนุบาล  หรือผู้พิทักษ์  หรือผู้แทนหรือตัวแทน

                   ของคู่กรณี
                           (๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของคู่กรณี

                           (๖) กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
                           ข้อ  ๑๗  ในกรณีที่มีผู้คัดค้านว่ากรรมการผู้ใดมีลักษณะตามข้อ  ๑๖  วรรคสี่  ให้มีการเรียกประชุม

                   คณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น  และเมื่อกรรมการผู้ถูกคัดค้านได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและ

                   ตอบข้อซักถามแล้วให้ออกจากห้องประชุม  โดยให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่
                           ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

                   ของกรรมการที่เหลืออยู่  ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้  มติดังกล่าวให้กระทําโดยวิธีลงคะแนนลับ

                   และให้เป็นที่สุด
                           การคัดค้าน  ให้ทําเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานยื่นต่อประธานกรรมการ

                           ข้อ  ๑๘  เมื่อที่ประชุมได้ลงมติไปแล้ว  หากปรากฏภายหลังว่ากรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย

                   ตามข้อ  ๑๖  วรรคสี่  มติที่ประชุมย่อมไม่เสียไปเพราะเหตุดังกล่าว  เว้นแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
                   ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเสียใหม่ก็ได้

                           ข้อ  ๑๙  ความในข้อ  ๑๖  วรรคสาม  และข้อ  ๑๗  ไม่ให้นํามาใช้บังคับแก่กรณีที่มีความจําเป็น
                   เร่งด่วน  หากปล่อยให้ล่าช้าไปจะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ

                           ข้อ  ๒๐  ถ้าประธานในที่ประชุมหรือกรรมการเสียงข้างมากที่มาประชุม  เสนอให้ประชุมลับ

                   ก็ให้ดําเนินการประชุมลับ
                           ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมลับได้  ได้แก่  กรรมการ  เลขาธิการ  และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากที่ประชุม

                           ข้อ  ๒๑  ในการประชุม  ให้ดําเนินการประชุมตามลําดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้
                   เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติเป็นอย่างอื่น

                           เรื่องที่จัดตามระเบียบวาระการประชุมแล้ว  กรรมการหรือสํานักงานจะถอนเรื่องออกจากวาระ

                   การประชุมได้ต่อเมื่อที่ประชุมมีมติอนุญาตและให้บันทึกเหตุผลไว้ในรายงานการประชุมด้วย
                           ในกรณีมีเรื่องเร่งด่วนใดนอกเหนือจากที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุม  ที่ประชุมอาจมีมติ

                   ให้นําเรื่องเร่งด่วนนั้นมาพิจารณาเพิ่มเติมได้  โดยให้บันทึกความเห็นไว้ในรายงานการประชุมด้วย


                   158





                         .indd   158                                                                              27/8/2562   12:27:44
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172