Page 104 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 104

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                                หน้า   ๕
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๑๒๓   ก         ราชกิจจานุเบกษา                  ๑๒   ธันวาคม   ๒๕๖๐


                              (๑๕) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการเสนอ  การแปรญัตติ  หรือ
                      การกระทําด้วยประการใด ๆ  ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือกรรมาธิการมีส่วน

                      ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
                              (๑๖) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่ง

                      ทางการเมืองมีคําพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ํารวยผิดปกติ  หรือกระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
                      หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  หรือกฎหมาย  หรือฝ่าฝืนหรือ

                      ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
                              (๑๗) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทํา

                      โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
                              (๑๘) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  ข้าราชการการเมือง  หรือ

                      สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะสิบปีก่อนเข้ารับการสรรหา
                              (๑๙) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนเข้ารับ

                      การสรรหา
                              (๒๐) เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา

                              (๒๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  หรือ
                      กรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

                              (๒๒) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท  หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไร
                      หรือรายได้มาแบ่งปันกัน  หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

                              (๒๓) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
                              (๒๔) มีพฤติการณ์อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

                              (๒๕) เป็นผู้ที่มีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง
                              มาตรา  ๑๑  เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ  ให้เป็นหน้าที่

                      และอํานาจของคณะกรรมการสรรหา  ซึ่งประกอบด้วย
                              (๑)  ประธานศาลฎีกา  เป็นประธานกรรมการ

                              (๒)  ประธานสภาผู้แทนราษฎร  และผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  เป็นกรรมการ
                              (๓)  ประธานศาลปกครองสูงสุด  เป็นกรรมการ

                              (๔)  ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน  องค์กรละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสามคน
                      เป็นกรรมการ

                              (๕)  ผู้แทนสภาทนายความหนึ่งคน  ผู้แทนสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข
                      เลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน  และผู้แทนสภาวิชาชีพสื่อมวลชนเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน  เป็นกรรมการ






                                                                                                            95




                         .indd   95                                                                               27/8/2562   12:27:14
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109