Page 4 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 4
ข
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ”
รองศาสตราจารย์คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ
บทคัดย่อ
หลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน เป็นหลักส าคัญซึ่งได้รับการรับรองในกฎหมายสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีพฤติกรรมบางอย่างซึ่งส่งผลเป็น
อุปสรรคขัดขวางต่อหลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน นั่นคือ “การเลือกปฏิบัติ” ซึ่งมี
ลักษณะที่สัมพันธ์กับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ” เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น โดยการเลือกปฏิบัติ
อาจเกิดขึ้นในมิติต่างๆ ของการด าเนินชีวิตในสังคม เช่น มิติของการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ มิติ
ของการบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นต้น อย่างไรก็ตามประเด็นปัญหาหลักของการวิจัยนี้คือ กฎหมาย
เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติของไทยปัจจุบันมีความเหมาะสมและครอบคลุมการเลือกปฏิบัติกรณีต่างๆ
หรือไม่ การศึกษาวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีขอบเขตครอบคลุมการศึกษากฎหมายไทยที่เป็นอยู่
ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ เช่น
สหภาพยุโรป อาฟริกาใต้ สวีเดน ฟินแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา
เป็นต้น
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเลือกปฏิบัติมีความหมายและขอบเขตแตกต่างกันในหลายบริบท
งานวิจัยนี้น าปัจจัยเชิงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสองประการ คือ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ และ มิติของ
การเลือกปฏิบัติ ประกอบกับปัจจัยอื่นในการพิจารณาการเลือกปฏิบัติตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศมาสร้างกรอบแนวคิดอันท าให้สามารถจ าแนกการเลือกปฏิบัติ
ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับการเลือกปฏิบัติในกรอบกฎหมายอื่นหรือในมิติอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ล าพัง
“การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” ยังอาจไม่ใช่การเลือกปฏิบัติตามนัยของกฎหมายสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ยังต้องมี
การน าปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย ในส่วนของการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่ามีกฎหมายเฉพาะหลายฉบับที่วางหลัก
เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ แต่ยังไม่เหมาะสมและเพียงพอในการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติ เนื่องจาก
กฎหมายเหล่านั้นมีขอบเขตจ ากัดเฉพาะบางเหตุและบางมิติของการเลือกปฏิบัติ โดยยังไม่ครอบคลุมถึงการ
เลือกปฏิบัติหลายกรณี เช่น การเลือกปฏิบัติในมิติของภาคเอกชน โดยเฉพาะกรณีการเลือกปฏิบัติในมิติการ
จ้างแรงงานด้วยเหตุอื่นนอกจากเหตุแห่งเพศ การเลือกปฏิบัติในมิติของการให้บริการหรือการจ าหน่าย
สินค้าของภาคเอกชน การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุประวัติอาชญากรรม การเลือกปฏิบัติในกรณีการให้นมบุตร