Page 129 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 129

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                    เนื่องด้วยการจัดทำาผังประเทศและผังภาค ได้นำาแผนและนโยบายของหน่วยงานต่างๆ มากำาหนด

            แนวทาง พื้นที่รองรับการพัฒนา ซึ่งนำาไปสู่การจัดทำาโครงการในหลายพื้นที่ โดยขาดการมีส่วนร่วมและเป็น

            โครงการที่ขัดแย้งกับการวิเคราะห์ในรายงานต่างๆ ของรัฐที่ทำาไว้ จึงทำาให้เกิดความขัดแย้งในหลายพื้นที่ เช่น
            กรณีท่าเรือนำ้าลึกปากบารา กรณีนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือนำ้าลึก กรณีโรงไฟฟ้า กรณีการสร้างอ่างเก็บนำ้า

            ขนาดใหญ่ เป็นต้น


                    การทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ จะนำาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ได้ หากกระบวนการยังคงเดินหน้า
            โดยวิธีการเดิมที่ขาดการร่วมกำาหนด ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจของประชาชนในพื้นที่และขาดการประเมิน

            ผลกระทบระดับนโยบายและยุทธศาสตร์ก่อนการจัดทำาโครงการแม้แต่การศึกษาในรายงานเรื่องเดียวกัน

            หากขาดการมีส่วนร่วมตรวจสอบ ก็พบว่า มีความขัดแย้งกัน การนำาแผนและผังไปสู่การปฏิบัติต่อไปจึงเป็น
            อันตรายต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะที่ควรต้องคุ้มครองสิทธิชุมชน สิทธิในการดำารงชีวิตและ

            การประกอบอาชีพในสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการดำารงชีวิต

                    ดังนั้น การดำาเนินการประเมินผลกระทบระดับนโยบาย และยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ภาคใต้ด้วย

            การมีส่วนร่วม จึงเป็นการบูรณาการแผนนโยบายในพื้นที่ทุกด้าน ให้เกิดการวิเคราะห์ศักยภาพ ข้อจำากัด

            ปัญหา อุปสรรคและประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ต่อพื้นที่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำาหนด
            ทิศทางการพัฒนาร่วมกันและเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะร่วมประเมิน กำาหนดทางเลือกการพัฒนา

            ที่ยั่งยืนตอบสนองการพัฒนาโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน




            4.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการจัดทำาข้อกำาหนดกิจกรรมบางประเภทในพื้นที่สีเขียว

              (พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม) ในผังเมืองรวมจังหวัด


                    จากการศึกษาคำาร้องกรณีแผนพัฒนาภาคใต้และโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือนำ้าลึก
            และโครงการด้านพลังงานที่จะมีการสร้างในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากควรมีการประเมินผลกระทบในระดับ

            ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาดังกล่าวในพื้นที่ภาคใต้แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการกำาหนดมาตรฐานการจัดทำา

            ข้อกำาหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ ที่ควรมีการนำาไปใช้โดยมีการชี้แจง ทำาความเข้าใจ ให้ข้อมูลเพื่อการมี
            ส่วนร่วมในกระบวนการผังเมือง เพื่อร่วมกำาหนดให้เกิดการคุ้มครองสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการ

            ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

                    โครงการขนาดใหญ่ที่ชุมชนร้องเรียนในประเด็นการกระทบต่อสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วม

            ของประชาชนในแผนพัฒนาภาคใต้และในหลายจังหวัดภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นการดำาเนินการในพื้นที่ชนบท

            และเกษตรกรรมในผังเมืองรวมจังหวัด ในขณะที่พื้นที่ภาคใต้มีฐานการผลิตสำาคัญในภาคการเกษตร

            การประมง และมีความสำาคัญในด้านการท่องเที่ยว เป็นพื้นที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม มีมรดกวัฒนธรรม
            ที่มีคุณค่าและมีความหลากหลาย







                                                          128
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134