Page 127 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 127

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                    ในอนาคตหากมีการแก้ไขกฎหมายผังเมืองและการปรับปรุง รื้อ แก้ไขผังเมืองที่ผ่านการรับฟัง

            ความคิดเห็นของประชาชนและได้รับความเห็นชอบจากกรรมการผังเมือง เพื่อมุ่งให้การพัฒนาการจัดทำา

            ผังเมืองในระดับจังหวัด ระดับชุมชนสอดคล้องกับนโยบายที่กำาหนดในผังประเทศไทย ก็จะทำาให้เกิด
            การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดและในชุมชน


                    และหากโครงการนั้นไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและความต้องการของประชาชน ชุมชนก็จะ

            เกิดความขัดแย้งในสังคมตามมา เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นการกำาหนดนโยบายการใช้ประโยชน์
            ที่ดิน จึงเป็นเรื่องที่ชุมชนควรจะได้รับทราบทำาความเข้าใจกับการกำาหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่จังหวัด

            และชุมชน อันเป็นผลจากผังเมืองในระดับต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม พัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง

            ในการมีส่วนร่วม และการตัดสินใจกำาหนดอนาคตของชุมชน


                    2) ผังภ�คใต้ พ.ศ. 2600

                    ในช่วงที่มีการดำาเนินการจัดทำาผังประเทศไทยนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองก็ได้มีการจัดทำาผัง

            ในระดับภาคควบคู่กันไปทุกภาครวมทั้งผังภาคใต้ ผังภาคใต้นี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย โดยมุ่งให้เป็น
            กรอบแนวทางสำาหรับการจัดทำาผังเมืองและแผนในระดับพื้นที่


                    ซึ่งแม้ว่าผังภาคใต้จะเป็นการจัดทำาโดยผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลาง มีการมาจัดประชุมที่ภาคใต้

            หลายครั้ง แต่การมีส่วนร่วมส่วนมากมาจากหน่วยงานภาครัฐ ส่วนภาคเอกชน ประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะ
            ชุมชนที่ได้รับผลกระทบโครงการมีโอกาสเข้าร่วมและรับทราบเรื่องนี้น้อยมาก


                    การรวบรวมค้นข้อมูลจากรายงานการจัดทำาผังภาคใต้ที่ผ่านมา เพื่อประมวลและวิเคราะห์ได้มีข้อ

            ค้นพบที่สำาคัญประการหนึ่ง คือ ข้อเสนอในผังประเทศไทยหลายเรื่อง ขัดแย้งกับข้อมูลและการวิเคราะห์
            ในรายงานผังภาคใต้ ซึ่งจัดทำาโดยหน่วยงานเดียวกัน


                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ผังประเทศไทยกำาหนดพื้นที่ภาคใต้ให้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม
            การพัฒนาพลังงานปิโตรเคมี ท่าเรือนำ้าลึก แต่ข้อมูลการวิเคราะห์ในผังภาคใต้ ระบุชัดเจนว่าภาคใต้มี

            ความสำาคัญในด้านการเกษตร ในรายงานผังภาคใต้ ระบุว่า

                    “ภาคใต้เป็นภาคที่มีบทบาทและความสำาคัญในการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทย ในฐานะ

            ที่เป็นแหล่งผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำาคัญหลายชนิด ทั้งยางพารา ปาล์มนำ้ามัน ข้าว และไม้ผลอุตสาหกรรม

            ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และใช้ฐานวัตถุดิบการเกษตรเป็นส่วนใหญ่และกระจุกตัวอยู่ใน

            บางจังหวัด ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบท แต่ก็ยังคงมีปัญหาการบุกรุกและ
            การขยายตัวของการพัฒนาเมืองรุกพื้นที่เกษตร การมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและมีชื่อเสียง

            ระดับโลก รวมถึงความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

            ดังรูปที่ 4.7 - 4.8







                                                          126
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132