Page 137 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 137
ข้อ 3
1. ในการกระท าทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะกระท าโดยสถาบันสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือเอกชน
ศาลยุติธรรม หน่วยงานฝ่ายบริหาร หรือองค์กรนิติบัญญัติ ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องค านึงถึงเป็น
ล าดับแรก
2. รัฐภาคีรับที่จะประกันให้มีการคุ้มครองและการดูแลแก่เด็กเท่าที่จ าเป็นส าหรับความอยู่ดีของเด็กโดย
ค านึงถึงสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมาย หรือบุคคลอื่นที่รับผิดชอบเด็กนั้นตามกฎหมาย
ด้วย และเพื่อการนี้จะด าเนินมาตรการทางนิติบัญญัติและบริหารที่เหมาะสมทั้งปวง
3. รัฐภาคีจะประกันว่า สถาบัน การบริการ และการอ านวยความสะดวกที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการดูแล
หรือการคุ้มครองเด็กนั้น จะเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้ก าหนดไว้โดยหน่วยงานที่มีอ านาจ โดยเฉพาะในด้านความ
ปลอดภัยสุขภาพ และในเรื่องจ านวนและความเหมาะสมของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการก ากับดูแลที่มีประสิทธิภาพ
ข้อ 4
รัฐภาคีจะด าเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และด้านอื่นๆ เพื่อการปฏิบัติให้
เป็นไปตามสิทธิที่อนุสัญญานี้ได้ให้การยอมรับ ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมนั้น รัฐ
ภาคีจะด าเนินมาตรการเช่นว่านั้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่และภายในกรอบของความร่วมมือระหว่าง
ประเทศเมื่อจ าเป็น
ข้อ 5
รัฐภาคีจะเคารพต่อความรับผิดชอบ สิทธิ และหน้าที่ของบิดามารดา หรือของสมาชิกของครอบครัว
ขยายหรือชุมชน ซึ่งก าหนดไว้โดยขนบธรรมเนียมในท้องถิ่น หรือของผู้ปกครองตามกฎหมายหรือบุคคลอื่นที่
รับผิดชอบต่อเด็กตามกฎหมาย ในอันที่จะให้แนวทางและการแนะแนวตามที่เหมาะสมในการใช้สิทธิของเด็ก
ตามที่อนุสัญญานี้ให้การรับรอง ในลักษณะที่สอดคล้องกับความสามารถที่พัฒนาตามวัยของเด็ก
ข้อ 6
1. รัฐภาคียอมรับว่า เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต
2. รัฐภาคีจะประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะท าได้ ให้มีการอยู่รอด และการพัฒนาของเด็ก
ข้อ 7
1. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะได้
สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้ สิทธิที่จะรู้จักและได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน
2. รัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐภาคีที่มีอยู่