Page 21 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 21

ไม่เหมาะสมของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม
                 หรือไว้หนวดไว้เครา  ส่วนนักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใด

                 อนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ
                 เพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำาหนดไว้และเป็นการกระทำาเท่าที่จำาเป็นเพื่อส่งเสริมความประพฤติของนักเรียน

                 และไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน ตามที่บัญญัติไว้ใน
                 มาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                           ประเด็นที่ ๒  การที่โรงเรียนอนุโลมให้นักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้เป็นการเฉพาะราย
                 เป็นการเลือกปฏิบัติ ตามนัยมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หรือไม่

                 อย่างไร
                           คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า  การที่โรงเรียนบางแห่งอนุญาตให้นักเรียนสามารถ

                 ไว้ผมยาวได้เป็นการเฉพาะรายเนื่องจากมีเหตุผลความจำาเป็น เช่น นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์ นักเรียนที่
                 นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น สอดคล้องกับบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๒๐๔/๕๒๘๕ ลงวันที่ ๑๒

                 พฤษภาคม ๒๕๔๖ เพื่อซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและความประพฤตินักเรียน  โดยนักเรียน
                 หรือนักศึกษาต้องประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่  และต้อง

                 แต่งกายหรือแต่งเครื่องแบบตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน  รวมทั้งต้องไม่แต่งกายหรือประพฤติตน
                 ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียนหรือนักศึกษาตามที่กำาหนดในกฎกระทรวงทั้ง ๒ ฉบับ  โดยเฉพาะ

                 ทรงผมของนักเรียน  ทั้งนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษาอาจพิจารณาผ่อนคลายระเบียบหรือข้อบังคับที่
                 เกี่ยวกับการไว้ทรงผมให้เหมาะสมกับวัยและสภาพของนักเรียนตามสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งไม่ขัด

                 หรือแย้งกับกฎกระทรวงดังกล่าว  ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๓๐ ของ
                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ทั้งนี้ เพราะโรงเรียน สถานศึกษาได้ผ่อนผัน

                 ให้กับนักเรียนที่ไว้ผมยาวโดยมีเหตุผลความจำาเป็นตามสภาพของนักเรียนเป็นการเฉพาะรายตาม
                 ความเหมาะสม  อันเป็นการปฏิบัติต่อเด็กโดยคำานึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุดของนักเรียน

                 สอดคล้องกับมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖  ที่บัญญัติว่า “การปฏิบัติต่อเด็ก
                 ไม่ว่ากรณีใด ให้คำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำาคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”


                       ๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                           การกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียนตามที่กำาหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวนั้น  ในชั้นนี้

                 ถึงแม้ว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
                 ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  แต่กระทรวงศึกษาธิการมิได้กำาหนดแนวทางการปฏิบัติให้

                 เกิดความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                 ด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี

                 โดยกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ให้สอดคล้องกับมิติด้าน
                 สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  และพันธกรณีระหว่าง

                 ประเทศที่ให้การคุ้มครองและรับรองไว้ ดังนี้



            20

            สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และสิทธิเด็ก กรณีเห็นว่าการกำาหนดแบบทรงผมของนักเรียนกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
            และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26