Page 17 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 17

วัตถุประสงค์



                     หลักกำรปำรีส
                     Paris Principles


                     หลักการปารีส (Paris Principles) เป็นเอกสารที่เป็นผลจากการสัมมนาระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 1991 เพื่อวางแนวทางในการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติที่จะจัดตั้งขึ้นในระดับประเทศ ให้มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับ (legitimacy and credibility)
                  หลังจากนั้น ประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ แต่หลักการส�าคัญที่ก�าหนด

                  ไว้ในหลักการปารีสได้กลายเป็นบรรทัดฐานส�าคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลของคุณลักษณะและบทบาทของสถาบัน
                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่พึงมี







                     อย่างไรก็ดี  นับตั้งแต่ได้มีการรับรองหลักการปารีสมาจนถึงปัจจุบัน  ได้มีการอธิบาย/ตีความหลักการปารีสให้มีความ
                  ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตลอดจนมีการพัฒนาแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตาม

                  หลักการดังกล่าว โดยสหประชาชาติและองค์กรเกี่ยวกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้สอดคล้องกับบริบทด้าน
                  สิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนแปลงไป  เพื่อให้มีการด�าเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น  อาทิ  ส�านักงาน
                  ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human

                  Rights - OHCHR) คณะอนุกรรมการพิจารณาการทบทวนสถานะ (Sub-Committee on Accreditation - SCA)
                  ภายใต้คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันแห่งชาติเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  (International  Coordinating  Committee  of  National  Institutions  for  the  Promotion  and  Protection

                  of Human Rights - ICC) และองค์กรความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia
                  Pacific Forum of National Human Rights Institutions - APF) รวมทั้งบทบาทเพิ่มเติมที่ตราสารสิทธิมนุษยชน

                  ระหว่างประเทศได้ก�าหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของกลไกสิทธิมนุษยชนในระดับชาติ


                     เอกสารฉบับนี้จัดท�าขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการท�างานที่เป็นมาตรฐานส�าหรับการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติ  และใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานของส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับคณะกรรมการสิทธิ
                  มนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ

                  ประสิทธิผล และได้รับการยอมรับจากทั้งภายในประเทศและ
                  ระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ยังเป็นการสรุปวิธีการปฏิบัติงาน
                  ที่ดี (good practices) ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบเป็นแนวทางในการ
                  ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล










               16
           มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22