Page 5 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 5
4 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
จะทับซ้อน เชื่อมโยง และเกี่ยวพันกันในลักษณะต่าง ๆ การนำาเสนอในกรณีที่มีประเด็นเชื่อมโยงระหว่าง
มิติและกลุ่มเป้าหมาย ในรายงานจะเลือกนำาเสนอข้อมูลรายละเอียดไว้ในมิติหนึ่งมิติใดเป็นการเฉพาะ
ในขณะที่จะแสดงการอ้างอิงที่เชื่อมโยงไว้ในเชิงอรรถท้ายหน้าในแต่ละส่วน
ทั้งนี้ ด้วยความพยายามในการจัดทำารายงานที่เสนอข้อมูลที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ หรือมีข้อกังขา
เกี่ยวกับที่มาของข้อมูลให้มากที่สุด กสม. จึงพยายามใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการปฏิบัติงานโดยตรง
ทั้งจากการติดตามตรวจสอบกรณีร้องเรียน หรือการปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นส่วนสำาคัญ
ในขณะที่จะตรวจสอบการความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
ประกอบในบางส่วน
กสม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในครั้งนี้
จะช่วยให้เกิดการทบทวน พิจารณา และสร้างเสริมพลังการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการยกระดับสภาวะ
สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยนอกจากจะเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนในภาพรวมอย่างรอบด้านแล้ว รายงานฉบับนี้ยังช่วยสร้างวัฒนธรรมการคิดและวิพากษ์
วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ ทำาให้สังคมมีความตระหนักและตื่นตัวต่อสิทธิมนุษยชน เกิดการติดตาม ควบคุม
และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการปฏิรูปประเทศของภาคประชาชนที่มีความรู้ และความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ได้เท่าทันกับเหตุการณ์ทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งจะเป็น
การพัฒนาสังคมที่ประชาชนใช้วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำาวัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มิถุนายน ๒๕๕๘