Page 82 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 82
รายงานการศึกษาวิจัย ๖๓
เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต
บทที่ ๕
ผลการศึกษา
กรณีศึกษาสิทธิชุมชนกับผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต
กรณีศึกษาสิทธิชุมชนกับผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใตในการศึกษานี้ ไดมาจากกรณีรองเรียน
ของชาวบานที่มีตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ไดแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ
จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ซึ่งการศึกษาในแตละจังหวัดนั้นคณะผูศึกษาไดจัดทํา
เวทีสนทนากลุม จํานวน ๑ ครั้ง เพื่อรวบรวมสถานการณตาง ๆ ในการละเมิดสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวของ รวมถึงหารือเพื่อจัดทํารางประเด็นขอเสนอ แลวจึงจัดใหมีเวทีเชิงปฏิบัติการในแตละจังหวัดอีก ๑ ครั้ง
เพื่อรวมกันจัดทําขอเสนอตอโครงการแผนพัฒนาภาคใตในจังหวัดตนเอง หลังจากนั้นก็ไดมีการจัดใหมีเวที
เชิงปฏิบัติการรวมของทั้ง ๔ จังหวัด เพื่อจัดทําขอเสนอเชิงนโยบายรวมกันรวมทั้งเพื่อใหเกิดการคุมครองสิทธิชุมชน
ซึ่งผลจากการศึกษาทบทวนขอมูลดานยุทธศาสตรและแผนงานโครงการภาคใตในแตละจังหวัด การจัดเวที
สนทนากลุม การประชุมเชิงปฏิบัติการในแตละจังหวัดและรวมกัน ๔ จังหวัด สามารถสรุปไดดังนี้
๕.๑ กรณีศึกษาจากกรณีรองเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ
๕.๑.๑ ประจวบคีรีขันธ เมืองศูนยกลางอุตสาหกรรมเหล็กสมบูรณแบบและพลังงาน
จังหวัดประจวบคีรีขันธนั้น ไมไดอยูในพื้นที่เปาหมายของแผนพัฒนาชายฝงทะเลภาคใต
ตั้งแต ป พ.ศ. ๒๕๓๙ จังหวัดประจวบคีรีขันธไดถูกกําหนดใหเปนเมืองศูนยกลางเหล็กสมบูรณแบบและพลังงาน
ภายใตแผนแมบทการพัฒนาพื้นที่ชายฝงทะเลตะวันตก (Western Seaboard Regional Development Master
Plan : WSB) ที่ไดมีการจัดทําโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ โดยไดรับการ
สนับสนุนการศึกษาจากองคการความรวมมือระหวางประเทศของญี่ปุน (Japan International Cooperation
Agency : JICA) ทั้งนี้ ไดมีการวางแผนในการดําเนินงานทั้งหมดไวรวมเปนระยะเวลา ๑๕ ป ระหวาง
พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๕๔ ที่จะพัฒนาใหอําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ เปนพื้นที่ศูนยกลางการพัฒนา
อุตสาหกรรมเหล็กตนนํ้าและเหล็กครบวงจร และสงเสริมใหภาคเอกชนเขามามีบทบาทสําคัญในการพัฒนา
นิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรในพื้นที่อําเภอบางสะพาน ประมาณ ๒๐,๐๐๐ไร ภายใตความรวมมือระหวาง
การนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทยกับบริษัทในเครือกลุมสหวิริยา อีกทั้งยังมีโครงการที่จะพัฒนาทาเรือนํ้าลึก
จํานวน ๔ ทา เพื่อเปดเปนทาเรือพาณิชย รองรับการขนสงทางทะเลเชื่อมโยงกับทาเรือในภาคตะวันออกและ
ภาคใต (รูปภาพที่ ๑๓)