Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 80
รายงานการศึกษาวิจัย ๖๑
เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต
๔.๖ งานวิจัยที่เกี่ยวของกับแผนพัฒนาภาคใต
เลิศชาย (๒๕๕๖) ไดสังเคราะหประเด็นสําคัญของความเปนธรรมทางสังคมของการพัฒนาอุตสาหกรรม
ขนาดใหญในแผนพัฒนาภาคใตวา เปนการพัฒนาที่สะทอนโลกยุคโลกาภิวัตน ซึ่งเปนยิ่งกวาความไมเปนธรรมอีก
กลาวคือ ชุดแผนงานขนาดใหญนี้มีการวางแผนไวเรียบรอยแลว โดยไมคํานึงถึงการมีสวนรวมของคนในทองถิ่น
และเจาของโครงการก็รูดีวามีผลกระทบ แตพยายามปกปดไมใหประชาชนรูขอมูล และไมยอมเปดเผยรายละเอียด
การดําเนินโครงการตอสาธารณะ แมกระทั่งนักวิชาการในมหาวิทยาลัยภาคใต ยังไมมีใครรูเลยวาจะเกิดโครงการ
ตาง ๆ ในพื้นที่ไหนบาง หากวาตองการรู ก็ตองไปตามคนหาเอาเองจากเอกสาร จากนโยบาย จากแผนงานตาง ๆ
หรือที่ไปปรากฏอยูในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดลอม (EIA) และแมแตโครงการที่มีการดําเนินการ
ในพื้นที่แลว ก็ไมมีการบอกรายละเอียดโครงการกับประชาชนในพื้นที่ เชน มีการดําเนินงานโรงงานไฟฟาถานหิน
ในหลายพื้นที่ของภาคใต มีเจาหนาที่ลงมาปฏิบัติงาน มีบริษัทรับชวงที่เปน sub-contract ลงมาทํางาน แตพอ
ประชาชนไปถามการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย ก็จะไดรับคําตอบวาโครงการยังไมทําอะไร ยังไมไดมีแผน
หรือบอกไมหมด นอกจากนี้การดําเนินโครงการก็เปนแบบแยกสวน ตัดตอนในแตละหนวยงาน เพื่อไมใหเห็น
ความเชื่อมโยงวาเปนอภิมหาโครงการขนาดใหญ คือ แยกกันทํา ที่ทําเชนนี้ก็เพื่อไมใหประชาชนมองเห็นภาพรวม
การประชาสัมพันธชี้แจงโครงการก็พูดเฉพาะแตประโยชนและขอดีดานเดียว แตไมพูดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ตอชุมชน สังคม และสิ่งแวดลอม การเคลื่อนไหวที่ภาคใตมีบทเรียนมาแลว แบบแผนของการดําเนินโครงการพัฒนา
ขนาดใหญ มีความสลับซับซอนเพราะวามีการวางแผนมาไวเรียบรอยแลว และยังดําเนินการภายใตหลักคิด
ในการโยนใหคนเล็กคนนอยเปนผูแบกรับผลกระทบ ทั้งที่มีโครงการอุตสาหกรรมขึ้นมาเปนชุดโครงการ
ขนาดใหญ สังคมไทยเราปจจุบันนี้ยังไมสามารถที่จะผลักดันหลักการที่วา “ผูดําเนินโครงการตองเปนผูแบกรับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น” ซึ่งสอดคลองกับการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคใตที่ผานมา โดยสถาบันวิจัย
สังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (๒๕๕๑) ที่สรุปเกี่ยวกับการรับรูขอมูลเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาของ
ภาครัฐจากเวทีสนทนากลุมวา ประชาชนไดตอตานโครงการอุตสาหกรรมหนักอยางไมมีเหตุผล หากภาครัฐและ
กลุมทุนมีการเปดเผยขอมูลอยางโปรงใสและเปนจริง มีการแสดงใหเห็นถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับโครงการ
และวิธีการในการควบคุมจัดการอยางมีระบบ มีการเปดโอกาสใหชุมชนทองถิ่นและองคกรปกครองสวนทองถิ่น
ไดมีสวนรวมในการบริหารจัดการ รวมทั้งมีพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ประสบความสําเร็จมาใหดูเปนตัวอยาง
ภาคประชาชนก็พรอมที่จะรับฟงและยอมรับการพัฒนาดังกลาว
ขอกังวลของประชาชนที่ตอแผนพัฒนาภาคใตจากการศึกษาของศยามล (๒๕๕๔) ก็เชนเดียวกัน คือ
เจาของโครงการทั้งรัฐและเอกชนไดมีการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตาง ๆ ตามแนวทางแผนพัฒนาภาคใต
อยูตลอดเวลา แตการชี้แจงโครงการคลุมเครือไมชัดเจน การจัดกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีสวนรวม
ยังไมมากพอ และภาคประชาสังคมและชุมชนมีความกังวลวาความขัดแยงในภาคใตจะมีแนวโนมที่รุนแรงมากขึ้น
หากแผนพัฒนาและโครงการตาง ๆ ปราศจากการมีสวนรวมในการตัดสินใจและการควบคุมอยางถูกตองเหมาะสม
ซึ่งสงผลกระทบเชิงลบตอทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิต สุขภาพ และวัฒนธรรมของชุมชนทองถิ่น ฉะนั้น กระบวนการ
กําหนดแผนพัฒนาตามศักยภาพพื้นที่ของภาคใตทั้งในระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ชุมชน จําเปนตอง
วิเคราะหทางเลือกตาง ๆ ของการพัฒนา โดยมีการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงอยางบูรณาการรอบดาน