Page 6 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 6
(๕)
ผลการศึกษาสรุปข้อเสนอแนะจากจากเวทีวิจัยต่อนโยบายและแผนงานระดับชาติ โดยได้มีการ
ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ ให้เป็นแผนพัฒนาที่คุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งประชาชนและชุมชนต้องมี
ส่วนร่วมในการจัดทําแผนตั้งแต่แรกเริ่ม และต้องคํานึงถึงสิทธิด้านอื่น ๆ รวมถึงให้มีการประกาศเขต
พื้นที่ภาคใต้เป็นเขตคุ้มครองผลิตอาหารของประเทศ และจัดทําทางเลือกของนโยบายและแผนของแต่
ละจังหวัดในเชิงรุก โดยการสร้างนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาระดับจังหวัดที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม
ในการกําหนดอนาคตของตนเองบนฐานทรัพยากรตามแต่ละภูมินิเวศของท้องถิ่น รวมถึงจัดทําการ
ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยชุมชน ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการภายใต้แผนพัฒนา
ภาคใต้ และควรให้มีการทบทวนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการ
ประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโครงการในภาคใต้ ให้ถูกต้องในเรื่องการมีส่วน
ร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจโดยคํานึงถึงสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงควรมีการ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกในการพิจารณาอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและรายงาน
การประเมินผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยให้มีองค์กรอิสระในการจัดทํา และควรจัดให้มี
กองทุนให้ชาวบ้านศึกษาผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมคู่ขนานกับการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา
ส่วนข้อเสนอแนะต่อนโยบายและแผนงานโครงการระดับจังหวัด กรณีศึกษาจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ได้เสนอให้มีการทบทวนนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ํา และพัฒนากรอบ
ยุทธศาสตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ด้าน
การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและเป็นธรรม การกระจายรายได้ การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความ
มั่นคงทางอาหารและพลังงาน และเป็นแผนอย่างยั่งยืนที่รับผิดชอบต่อคนรุ่นต่อไป โดยประสานความ
ร่วมมือระหว่างจังหวัดและประชาชนในการวางยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดร่วมกัน ด้วยทิศทาง
การพัฒนาจากศักยภาพและฐานทรัพยากรของชุมชน รวมทั้งขยายยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องประมง และ
ประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประมงขนาดเล็กที่ทํามาหากินแถบชายฝั่ง ที่ใช้เรือขนาดเล็ก และเครื่องมือ
ประมงง่ายๆ ที่ไม่ทําลายล้าง ไม่ทําลายระบบนิเวศ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการ
จัดการและดูแลทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันยึดแนวทางการพัฒนาบนหลักการสิทธิชุมชนและการ
บริหารการจัดการสังคมที่มีการกระจายอํานาจและถ่ายโอนลงสู่ชุมชนท้องถิ่น
สําหรับกรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องการมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการกําหนดอนาคต
ของตนเอง ในการจัดทําแผนของชุมชน จังหวัด และกําหนดอนาคตของตนเองบนฐานทรัพยากร จารีต
ประเพณี และวิถีชีวิต ของตนเองและประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งทะเลนครศรีธรรมราช
พัฒนาเมืองที่พึ่งตนเองและยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจหลากหลายประเภท และการพัฒนาพลังงาน
หมุนเวียนเพื่อการพึ่งตนเองของเมือง