Page 4 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 4

(๓)






                  ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดําเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและ
                  ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มาตรา ๘๗ บัญญัติว่ารัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านการ

                  มีส่วนร่วมของประชาชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา

                  เศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
                  ในการตัดสินใจ ทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการจัดทําบริการสาธารณะ

                  บทบัญญัติอื่น ๆ ว่าด้วยสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ

                  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
                  อย่างยั่งยืน ทั้งยังมีบทบัญญัติที่ให้ความสําคัญแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกําหนดให้ต้องกระจาย

                  อํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ อันรวมถึงการจัดการ

                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตาม มาตรา ๘๕ (๑) (๔) และ (๕) บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพใน
                  การแสดงความคิดเห็นการแสดงออกและการรับหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในมาตรา  ๕๖ และมาตรา

                  ๕๗ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิในมาตรฐานการครองชีพใน มาตรา ๔๓-๔๔ และมาตรา ๕๑-๕๒

                         แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้มีลักษณะเป็นชุดโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งการศึกษาและจัดทําแผน
                  ล้วนแล้วแต่ได้รับการสนับสนุนและศึกษาโดยต่างชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การขับเคลื่อนและผลักดันของ

                  สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยแผนพัฒนาภาคใต้ตอนบนผู้ศึกษา

                  คือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)
                  ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการชะลอและทบทวนการดําเนินการแผนพัฒนาภาคใต้หลายครั้ง แต่ก็ยังคง

                  เป้าหมายเดิมที่จะพัฒนาภาคใต้ให้เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของภูมิภาค

                  โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรและ
                  ศูนย์กลางพลังงานของประเทศ ด้วยโครงการโรงถลุงเหล็กต้นน้ําและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมทั้ง

                  โรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จะพัฒนาให้ศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน

                  ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขณะที่จังหวัดสงขลาจะเป็นเมือง
                  อุตสาหกรรมหนักชายแดนและสะพานเศรษฐกิจพลังงานฝั่งอ่าวไทย และจังหวัดสตูลเป็นประตูเมือง

                  อุตสาหกรรมและสะพานเศรษฐกิจพลังงาน

                         ผลการศึกษาการละเมิดสิทธิของชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการดําเนินการโครงการที่

                  เกี่ยวเนื่องกับแผนพัฒนาภาคใต้ จากพื้นที่กรณีศึกษา ๔ จังหวัด พบว่ามีการละเมิดและละเลย

                  ความสําคัญของสิทธิของชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองและ
                  สิทธิในการพัฒนา ซึ่งแผนพัฒนาภาคใต้ถูกกําหนดขึ้นจากรัฐส่วนกลางโดยที่ไม่มีประชาชน ชุมชน

                  ท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดและจัดทํา จึงละเลยสิทธิของชาวบ้าน

                  และชุมชนในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเองและสิทธิในการพัฒนา ส่งผลให้ชะตากรรมและ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9