Page 13 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 13

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 11







                            เมื่อเวลาผ่านไป ระบบรวมหมู่ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนหลักนิติธรรมช่วยให้มนุษย์พัฒนาตนเอง

                     จนเข้มแข็ง และมีแนวโน้มพัฒนาไปสู่การปกครองที่ประชาชนมีอำานาจสูงสุด (อำานาจประธิปไตยของ
                                                                                           ๒
                     ประชาชน : popular sovereignty) หรือเป็นเหตุให้มีการพัฒนาเป็นระบบประชาธิปไตย  ในเวลาต่อมา

                     ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถใช้สิทธิในการเลือกและเลือกตั้งบุคคล (รัฐบาล) เพื่อทำาหน้าที่แทนตน
                            เหตุดังกล่าว จึงถือได้ว่าประชาธิปไตยเป็นระบบของรัฐบาลและสังคมที่ส่งเสริมประโยชน์

                     ร่วมกัน และมุ่งป้องกันไม่ให้มนุษย์แสดงพฤติการณ์ตามธรรมชาติของตนบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นเรื่อง

                     เลวร้ายและเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นในสังคม  ระบบดังกล่าวยอมรับว่าสังคมประกอบด้วยผล
                     ประโยชน์ที่หลากหลาย เป็นเหตุให้บุคคลทุกคนอาจไม่เห็นร่วมกันทั้งหมด และกำาหนดให้มีวิธีการ
                     แก้ไขความขัดแย้งของผลประโยชน์ด้วยสันติวิธี เพื่อให้ประชาธิปไตยทำาหน้าที่เหล่านี้ได้ เราจำาเป็น

                     ต้องมีหลักนิติธรรม

                            แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงมีที่มาจากความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติและสิทธิ
                     ธรรมชาติเหล่านี้ แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและประชาธิปไตยต่างเชื่อมโยงซึ่งกัน

                     และกัน และต่างเป็นจิ๊กซอว์ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นกลไกการบริหาร อยู่บนพื้นฐานการเคารพ
                     ศักยภาพของมนุษย์ในการคิดด้วยเหตุผลและในการเลือกให้พื้นที่กับมนุษย์ในการทำางานเพื่อประโยชน์

                     ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสามัคคีในสังคม และกำาหนดให้มีกลไกเพื่อคลี่คลาย
                     ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ในกรณีที่มีผลประโยชน์แตกต่างกัน

                            ในสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ รัฐธรรมนูญทั้งในรูปของประมวลกฎหมายหรือที่ไม่ได้รวม

                     เป็นประมวลกฎหมาย เป็นพื้นฐานกำาหนดกรอบความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการบริหารประเทศที่
                     แตกต่างกัน และระหว่างกลไกเหล่านี้กับบุคคลซึ่งอยู่ในสังคม กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ถือได้ว่ารัฐธรรมนูญ

                     กำาหนดพื้นฐานของหลักนิติธรรมเพื่อจัดการกับความสัมพันธ์ในสังคม

                            อย่างไรก็ตาม มนุษย์มีความรับผิดชอบต้องทำาให้กลไกการบริหารทำาหน้าที่ของตนเองได้
                     ดังที่กล่าวถึงข้างต้น มนุษย์ไม่ได้ใช้ความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อประโยชน์ร่วมกันเสมอไป

                     แต่พฤติการณ์ของมนุษย์ในบางครั้งอยู่ใต้อิทธิพลของสัญชาติญาณแบบสัตว์ที่มุ่งแสวงหาอำานาจ
                     ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ฯลฯ  ด้วยเหตุดังกล่าว กลไกเหล่านี้จึงไม่บรรลุเป้าหมายที่พึงปรารถนา

                     ทุกครั้งไป  แนวทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ การให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน หรือการเจรจากับ
                     ประชาชน หรือระหว่างรัฐบาลกับผู้ถูกปกครองเกี่ยวกับแนวคิดด้านสิทธิ ความรับผิดชอบ พันธกรณี

                     ทั้งนี้ เพื่อเปลี่ยนความคิดและทัศนคติเพื่อส่งเสริมให้ระบบและกลไกมุ่งหน้าคุ้มครองและส่งเสริม
                     ประโยชน์ร่วมกันที่คาดหวังไว้








                     ๒  มีการอธิบายคำาว่าประชาธิปไตยอย่างละเอียดในเนื้อหาถัดไปของบทนี้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18