Page 141 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 141

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูที่จัดตั้งขึ้นตาม
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๖ และมาตรา ๒๕๗ และ
               พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วยประธานกรรมการ
               คนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกหกคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา จากผู้ซึ่ง
               มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์  มีวาระการดำารง
               ตำาแหน่งหกปี และดำารงตำาแหน่งได้เพียงวาระเดียว  โดยมีอำานาจหน้าที่ ดังนี้
                   ๑.  ตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                      หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็น
                      ภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำาหรือละเลย
                      การกระทำาดังกล่าวเพื่อดำาเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอ
                      ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป
                   ๒.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ  ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียน
                      ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบ
                      ด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ
                      ศาลรัฐธรรมนูญ
                   ๓.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง  ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ
                      คำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับ
                      ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย  ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ
                      วิธีพิจารณาคดีปกครอง
                   ๔.  ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหาย และเป็นกรณีที่
                      เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
                      บัญญัติ
                   ๕.  เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎต่อรัฐสภา หรือคณะ
                      รัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                   ๖.  ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่าง
                      ประเทศ
                    ๗.  ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ ด้านสิทธิมนุษยชน
                    ๘.  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการองค์การเอกชน และ
                       องค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
                    ๙.  จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และ
                       เสนอต่อรัฐสภา
                    ๑๐. ประเมินผลและจัดทำารายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี เสนอต่อรัฐสภา
                    ๑๑. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิ
                       สัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                    ๑๒. อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                        139
                                        139
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146