Page 4 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 4
บทคัดยอ
เอกสารวิจัยฉบับนี้ชี้ใหเห็นวา กระบวนทัศนในการพัฒนาประเทศไทยมีผลผูกพันใหประเทศตอง
สรางขอบขายความรวมมือทางการคาระหวางประเทศ และยึดนโยบายเสรีนิยมทางการคา (Liberalize
International Trade) เพื่อเพิ่มชองในการเขาถึงตลาดทางการคา และความรวมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและ
การลงทุน และมีพันธะกรณีในการพัฒนาการเปดเสรีการคา สาขาธุรกิจคาปลีก
เมื่อประเทศไทยประสบปญหาทางเศรษฐกิจขั้นรุนแรงในป พ.ศ. 2540 ทําใหประเทศไทยตองพึ่งพิง
ทุนตางชาติเรื่อยมาอีกทั้งผลพวงของนโยบายและมาตรการสงเสริมของรัฐที่ผานมา ประกอบกับมี
ความไดเปรียบทางเศรษฐกิจของกลุมทุนตางชาติ กลุมทุนตางชาติเหลานี้จึงประสบโอกาสเขามาประกอบ
กิจการและลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการลงทุนอยางมหาศาลในสาขาธุรกิจคาปลีก สงผลให
กิจการคาปลีกดั้งเดิมตองลมเลิกกิจการที่ไดประกอบกันมานับชั่วอายุคน
นอกเหนือจากผลกระทบที่มีตอรานคาปลีกดั้งเดิมแลว เอกสารวิจัยฉบับนี้ยังไดแสดงใหเห็นถึง
ผลกระทบทางสังคมของการรับนโยบายการเปดเสรีทางการคา (ธุรกิจคาปลีก) ซึ่งมีผลตอการเปลี่ยนแปลง
ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน อันเปนปจจัยสําคัญตอการเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชนในระยะยาว
ผลการวิจัยบงชี้วาการเปลี่ยนแปลงนี้เปนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปลุกปน มิไดเกิดขึ้นตาม
ความตองการที่แทจริงของชุมชน และมีพยานหลักฐานที่ยืนยันไดวา สิทธิของชุมชนที่จะเลือกวิถีชีวิตที่
เหมาะสม และความสุขทางสังคมที่ยั่งยืน ไดถูกทําลายไปเพราะการยอมรับใหกระบวนการคาปลีก
เขาแทรกซึมวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อประโยชนทางการคา และการหากําไรอยางปราศจากขอจํากัด
การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของ
ตางประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบวา มีการใชมาตรการทางกฎหมายในลักษณะของการ
กําหนดรายละเอียดปลีกยอยทางออม ในการปองกันผลกระทบของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญที่มีตอรานคาดั้งเดิม
ทองถิ่น เชน การจัดระเบียบการจราจร การจัดระเบียบพื้นที่ตั้ง หรือมาตรการเพื่อความปลอดภัย เปนตน
งานวิจัยนี้พบวามาตรการทางกฎหมาย มิไดเปนปจจัยที่มีนัยสําคัญในการปกปองรานคาดั้งเดิม
ทองถิ่น แตปจจัยที่ทําใหธุรกิจคาปลีกขนาดใหญไมสามารถกลืนกินรานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่นหรือรานคากลุม
ทุนชาติ ไดแก “การสรางจิตสํานึกรวมกัน”ของปจเจกชน ชุมชนและสังคมใหตระหนักถึงคุณคาในความดีของ
การมีอยูของรานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่น ซึ่งเปรียบไดกับ “กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจชุมชน” และถือเปน
ความงดงามของความหลากหลายในการประกอบอาชีพของคนทองถิ่น โดยยึดโยงกับกระบวนทัศนเรื่องการ
พัฒนาที่สมดุลอยางยั่งยืนอันมีสิทธิมนุษยชนควบคูกับศักดิ์ศรีความเปนมนุษยเปนปจจัยหลักใน
การพัฒนาประเทศ
ผูวิจัยเสนอวาควรมีการทบทวนการอนุญาตขยายตัวของรานคาปลีกสมัยใหมไวเปนการชั่วคราว
กอนและรัฐตองพิจารณาถึงความเปราะบางของชุมชน โดยรัฐตองปกปกษรักษาสิทธิมนุษยชนควบคูไปกับ
การพัฒนาเศรษฐกิจ การกําหนดทิศทางพัฒนาประเทศของไทยควรวางอยูบนกรอบความคิดเรื่องโอกาส
ของชุมชนใน “การพัฒนาอยางยั่งยืน”(Sustainable Development) ตามที่ไดกําหนดอยูในแผนพัฒนา
ประเทศและแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน ควรสนับสนุนการสรางเครือขาย
ความรวมมือระหวางภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนนโยบายไปสูภาคปฏิบัติอยาง
จริงจัง โดยกอนที่จะดําเนินมาตรการในทางปฏิบัติใดๆ ภาครัฐควรจํากัดการขยายตัวของรานคาปลีก
สมัยใหมไวเปนการชั่วคราวกอน จนกวาจะแนใจวา รัฐมีกลไกคุมครองที่พรอมเพรียงแลว