Page 86 - เสียงจากชุมชน : ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง
P. 86
โครงการจะส่งผลกระทบต่อทั้งชนพื้นเมืองทวายที่อาศัยอยู่ในเขตนาบูเล่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ก่อนสมัยพุกาม) และ
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างถนนเชื่อมต่อมายังประเทศไทย ข้อตกลงและแผนทั้งหมดนี้ ได้กระทํากันระหว่างบริษัท
อิตาเลียนไทย และรัฐบาลพม่า ซึ่งลงนามกันโดยปราศจากการปรึกษาหารือหรือแจ้งกับคนท้องถิ่นดั้งเดิมและกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่า
โครงการจะเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี 2553 แต่บริษัท อิตาเลียนไทย เพิ่งจะว่าจ้างให้ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม
นท์ จํากัด, บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จํากัด และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทําการศึกษา การประเมิน
สิ่งแวดล้อม (Environmental Assessment) ในพื้นที่ท่าเรือนํ้าลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย, พื้นที่สร้างเขื่อนที่หมู่บ้านกาโลนท่า และ
พื้นที่ก่อสร้างถนนเชื่อมต่อมายังประเทศไทย ตามลําดับ ซึ่งการศึกษาเพิ่งจะเริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน ปี 2554 จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีการ
เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินสิ่งแวดล้อมแก่ชนพื้นเมืองท้องถิ่นในขณะที่โครงการยังคงดําเนินต่อไป การกระทําเช่นนี้ของบริษัท
อิตาเลียนไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทยไม่ได้เคารพสิทธิของชนพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสิทธิในการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและที่ดินในชุมชนของพวกเขา
2) การโยกย้ายโดยไม่สมัครใจ และค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม
ชนพื้นเมืองดั้งเดิมทวายมากกว่า 32,000 คนในเขตนาบูเล่ และอีก 1,000 คนจากหมู่บ้านกาโลนท่า กําลังเผชิญกับการ
บังคับให้ย้ายออกจากพื้นที่ โดยไม่มีการสํารวจเกี่ยวกับการโยกย้ายอย่างเป็นระบบ และไม่มีการปรึกษาหารืออย่างมีความหมาย
เกี่ยวกับความต้องการของประชาชน พื้นที่รองรับการโยกย้ายถูกสร้างขึ้นโดยที่ชาวบ้านไม่ได้เห็นชอบด้วย ซํ้าร้ายคือ บ้านในพื้นที่
รองรับถูกสร้างขึ้นอย่างคุณภาพตํ่า และมักจะทลายลงเมื่อถูกลมพัด
ที่หมู่บ้านกาโลนท่า บริษัท อิตาเลียนไทย และรัฐบาล กําลังพยายามจะสร้างเขื่อนเก็บนํ้าที่แม่นํ้าตะลายยาร์ ใกล้ๆ กับหมู่บ้าน
อ่างเก็บนํ้าของเขื่อนจะทําให้พื้นที่สวน 3,000 เอเคอร์ ที่ชาวบ้านกาโลนท่าทั้งหมดพึ่งพาต้องจมนํ้าและถูกทําลาย ชาวบ้านกําลังเรียก
ร้องว่าพวกเขาจะไม่ย้าย เพราะพวกเขาไม่ต้องการสูญเสียป่าไม้และที่ดินที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ทาง
บริษัทกลับกดดันชาวบ้านด้วยวิธีการต่างๆ นานาเพื่อให้ชาวบ้านย้ายออกไป
การผลักดันให้มีการโยกย้ายโดยไม่สมัครใจนั้นยังถือเป็นการไม่เคารพสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจของชาวท้องถิ่น และ
ยังคุกคามวิถีชีวิตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในพื้นที่นาบูเล่ จากรายงานวิจัยเรื่อง “Local People Understanding of Dawei
Special Economic Zone” ระบุว่า 86% ของชาวบ้านในพื้นที่นาบูเล่ที่จะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นพึ่งพาที่ดินและการเกษตร
อย่างไรก็ตาม พื้นที่รองรับการโยกย้ายที่ บาวาร์ ทาวา และวาซุนถ่อ ที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลและเทือกเขา ตะนาวศรีนั้นคับแคบเกินกว่า
จะทําการเพาะปลูกใดๆ ได้ หากชาวบ้านจากนาบูเล่ถูกบังคับให้โยกย้ายไปอยู่เมื่อการก่อสร้างบ้านรองรับเสร็จสิ้น พวกเขาจะไม่มีที่
ที่ทําการเพาะปลูกอาหารและทําการเกษตร
การจ่ายค่าชดเชยในหลายกรณีเกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เท่าเทียม และที่ดินต่างๆ ถูกยึดไปเพื่อสร้างสํานักงานของ
บริษัท และสร้างถนนสําหรับการสัญจรเพื่อเข้าถึงพื้นที่ก่อสร้าง แม้ว่าโครงการจะดําเนินการโดยบริษัทเดียว แต่เกิดความแตกต่างใน
การเลือกปฏิบัติซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่และอํานาจของผู้ที่อาศัยในพื้นที่นั้น ซึ่งเกิดการเลือกปฎิบัติอย่างรุนแรงในการจ่ายค่าชดเชยของ
บริษัท อิตาเลียนไทย เช่น ในบางพื้นที่ที่อยู่ในความควบคุมของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ชาวบ้านมีสิทธิพิเศษในการเข้า
ร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับค่าชดเชย ในขณะที่บางพื้นที่ โดยเฉพาะที่นาบูเล่ ชาวบ้านกลับถูกคุกคามและได้รับค่าชดเชยน้อยกว่า เจ้า
หน้าที่ของรัฐบาลยังพยายามที่จะเข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการจ่ายค่าชดเชยด้วย สิ่งที่ร้ายที่สุดคือ บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ
เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย และสิ่งนี้ได้นําไปสู่การคอรัปชั่นโดย เจ้าหน้าที่รัฐ และบรรดานายหน้าค้าที่ดินทั้งหลาย
พวกเราเชื่อว่าประเทศไทยในฐานะที่ลงนามในปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชนจะยืนหยัดอยู่ในหลักกการสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานไม่เฉพาะต่อบุคคลและพลเมืองในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต่อประเทศอื่นๆ ด้วย ดังนั้น พวกเราชาวบ้านจาก
ทวายและตะนาวศรีหวังว่าทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยสามารถที่จะเข้ามาสืบสวนเกี่ยวกับสถานการณ์ทาง
สิทธิมนุษยชนและการละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการท่าเรือนํ้าลึกและเขตนิคมอุตสาหกรรมทวายที่ดําเนินการโดยบริษัท อิตาเลียน
ไทย และรัฐบาลไทย เพื่อนําไปสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมืองดั้งเดิมและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเหล่านี้
ขอขอบคุณสําหรับการรับเรื่องราวของพวกเราไว้พิจารณา และพวกเราจะรอฟังคําตอบจากท่าน
ด้วยความเคารพอย่างสูง
สมาคมพัฒนาทวาย
84