Page 5 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 5
ค ำน ำ
รัฐบาลไทยมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ต้องเสนอรายงานการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอ
ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน
ที่มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน การเสนอรายงานสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนนี้จะช่วยให้รัฐบาลได้ประเมินตัวเองว่าได้ด าเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้มีประสิทธิภาพ
เพียงใด และยังมีส่วนที่จะต้องแก้ไขอย่างไร ในการด าเนินการพิจารณารายงานนั้น คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีอ านาจหน้าที่จัดท ารายงานคู่ขนาน (Alternative Report) เพื่อเสนอต่อ
คณะกรรมการที่มีอ านาจพิจารณารายงานของรัฐบาล นอกจากนั้น กสม. ยังมีหน้าที่จัดท ารายงานประจ าปีเพื่อ
ประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการจัดท า
รายงานยังขาดเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการประเมินและตรวจสอบการด าเนินงานของรัฐบาล
ปัญหาส าคัญประการหนึ่งในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนก็คือ การที่รายงานไม่ได้ให้ข้อมูลที่
ตรงกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เนื่องจากความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหาสาระของ
สิทธิมนุษยชน และพันธะหน้าที่ของรัฐที่มีต่อสิทธิแต่ละประเภท เป็นเพราะสิทธิมนุษยชนหลายด้านมีลักษณะ
เป็นเกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน (Normative Rules) นอกจากนั้นสิทธิมนุษยชนหลายประเภท
โดยเฉพาะสิทธิด้านเศรษฐกิจและสังคมยังมีลักษณะเป็นสัมพัทธภาพ (Relativity) ซึ่งการปรับใช้เกณฑ์
มาตรฐานระหว่างประเทศจะขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละ
ประเทศ
ดังนั้นใน พ.ศ. 2554 ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้
มีด าริให้จัดท าโครงการศึกษา เรื่อง “การจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดท าตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน โดยได้ว่าจ้าง
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นที่ปรึกษาโครงการ
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้นตามโครงการนี้ได้ด าเนินการ
ตามแนวทางที่ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office of the
High Commissioner for Human Rights) ได้แนะน าไว้ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือน าไปปฏิบัติได้และ
สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนที่มีลักษณะสากล ขณะเดียวกันก็พัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน
บริบทของประเทศไทย โดยใช้กระบวนการพัฒนาตามมาตรฐานการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเน้นการมีส่วนร่วม
ของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง