Page 261 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 261
183
ระยะเวลาในการรายงาน เพื่อให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูล หรือหน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ส่ง
ข้อมูลให้กับ กสม. ทั้งนี้ กสม. มีอ านาจในการเรียกให้หน่วยงานรัฐส่งข้อมูลให้กับ กสม. ตามกฎหมาย
อยู่แล้ว
3. กสม. ควรประสานงานและขอความร่วมมือกับส านักงานสถิติแห่งชาติ (สช) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่
ท าการส ารวจข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในการก าหนดลักษณะของข้อมูล หรือ
ออกแบบความต้องการประเภทของข้อมูล เพื่อให้ส านักงานสถิติแห่งชาติส ารวจและจัดเก็บข้อมูล ที่ใช้
ประโยชน์ในการวิเคราะห์เกณฑ์ตัวชี้วัดทางด้านสิทธิมนุษยชน
4. กสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลควรเผยแพร่ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนทั่วไป
เพื่อที่จะเข้าใจองค์ประกอบและสาระแห่งสิทธิอันเป็นประโยชน์ในการปกป้องสิทธิของตนเองและเพื่อ
ประโยชน์ในการติดตามการด าเนินงานของรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
5. กสม. ควรจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แก่เจ้าหน้าที่ของ กสม. โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใน
การประเมินตรวจสอบการด าเนินงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่วินิจฉัยค าร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน
6. กสม. และหน่วยงานของรัฐควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อความเข้าใจให้กับหน่วยงานต่างๆ
เพื่อน าตัวชี้วัดไปใช้ในการด าเนินงานและควรมีการจัดท าคู่มือ (Manual) หรือค าแนะน า (Guideline)
ในการน าไปใช้ส าหรับหน่วยงานระดับปฏิบัติการขึ้น
7. หน่วยงานทุกหน่วยของรัฐควรจัดท าตัวชี้วัดระดับกระทรวง และระดับหน่วยงานขึ้นเอง โดยให้
สอดคล้องกับตัวชี้วัดเบื้องต้นฯ นี้ และจัดล าดับความส าคัญของตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่
ของหน่วยงาน นอกจากนั้นหน่วยงานควรจะต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายที่
ต้องการชี้วัด
8. ในการน าตัวชี้วัดไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐควรมีการการทดลองใช้ตัวชี้วัด
กับหน่วยงานย่อยขึ้นเป็นโครงการน าร่อง และให้มีการประเมินผลการใช้ตัวชี้วัดขึ้นก่อนมีการใช้ระดับ
กระทรวง
9. ควรเชื่อมโยงตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กับตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
เฉพาะด้าน (Treaty-based Indicators) ที่ กสม. จะจัดท าขึ้น เพื่อให้เสริมซึ่งกันและกัน และไม่ให้
เกิดความลักลั่นของปทัสฐานสิทธิ
10. ควรมีการทบทวนตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลฯ เป็นระยะ ๆ เช่น ทุกสี่ปี โดยควรพัฒนาใช้บ่งชี้ถึง
ปทัสฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สูงขึ้นตามล าดับ (หรือยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนให้สูงขึ้น
ตามล าดับ) และพัฒนาเกณฑ์ชี้วัดให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยเฉพาะข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวบุคคล
(disaggregated data)