Page 259 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 259

181


                                                         บทที่ 6


                                                   สรุปและข้อเสนอแนะ






                       จากการศึกษาตามโครงการนี้คณะผู้ศึกษาได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะดังนี้


               6.1 สรุป

                     ตัวชี้วัดเป็นการใช้ข้อมูล สถิติทางสังคมศาสตร์ รวมทั้งรวมถึงเหตุการณ์ที่หรือสถานการณ์ด้านสิทธิ
               มนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และตรวจสอบ

               การปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ว่าได้ด าเนินการสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศตามสิทธิ
               มนุษยชนในการเคารพ ปกป้อง และท าให้สิทธินั้นเป็นจริงหรือไม่ โดยพิจารณาจากกฎหมาย กลไก นโยบาย
               และมาตรการต่างๆ ที่รัฐ ได้ใช้


                     ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นตามกระบวนการการรายงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศมุ่งที่จะยกระดับการ
               พัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง แต่มิใช่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัดสินชี้ว่าการด าเนินงานว่าผ่าน
               เกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน


                     ส าหรับประเทศไทย กสม. มีหน้าที่จัดท ารายงานคู่ขนาน เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเพื่อ
               เสนอต่อองค์กรระหว่างประเทศที่มีหน้าที่พิจารณารายงานของรัฐบาล ในการรายงานตามกระบวนการ  UPR
               นั้น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้ใช้สาระแห่งสิทธิที่รับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นฐานใน

               การพิจารณาการด าเนินงาน หน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ

                     ในการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ก่อ
               พันธกรณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นจารีตประเพณีโดยถือว่าสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในปฏิญญาเป็น
               มาตรฐานขั้นต่ าที่มนุษย์ทุกคนพึงมี และรัฐจะต้องด าเนินการเคารพ ปกป้อง และท าให้เกิดขึ้นจริง


                     การจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเป็นการสร้างเครื่องมือในการ
               ตรวจสอบการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลตามที่ประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่าง

               ประเทศในการคุ้มครองบุคคล

                     ตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่คณะผู้ศึกษาจัดท าขึ้นประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งสิ้น
               420 ตัว  แบ่งเป็นตัวชี้วัดหลัก จ านวน 194 ตัว และตัวชี้วัดรอง จ านวน 226 ตัว หรือ สามารถแบ่งเป็น

               ตัวชี้วัดโครงสร้าง 101 ตัว ตัวชี้วัดกระบวนการ 165 ตัว ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 154 ตัว
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264