Page 82 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 82
71
วัน เดือน ปี ที่เกิดเหตุ พฤติการณ์โดยย่อ ความเห็นของผู้ตรวจสอบ ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ
และความเห็นคณะผู้วิจัย ในเรื่องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ประเภทที่ละเมิดและสาเหตุของการ
ละเมิด (รายละเอียดปรากฎตามภาคผนวก ก)
จากการศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของ
เจ้าหน้าที่ต ารวจ จากข้อมูลสถิติที่เจ้าหน้าที่ต ารวจละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี พ.ศ. 2545 –
2552 จ านวน 109 เรื่องรายงาน พบว่ามีข้าราชการต ารวจระดับต่าง ๆ ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดย
แยกเป็นข้าราชการระดับชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน และ
ไม่ปรากฎระดับชั้นข้าราชการต ารวจ จ านวนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและประมาณร้อยละ
ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังปรากฏตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ระดับชั้นข้าราชการต ารวจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
ล าดับ ระดับชั้นข้าราชการต ารวจ จ านวนเรื่องรายงาน ร้อยละ
1 ชั้นสัญญาบัตร 79 72.48
2 ชั้นประทวน 8 7.34
3 ชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน 4 3.67
4 ไม่ปรากฎระดับชั้นข้าราชการต ารวจ 18 16.51
รวม 109 100
จากตารางที่ 2 พบว่ามีเจ้าหน้าที่ต ารวจระดับชั้นสัญญาบัตรละเมิดสิทธิมนุษยชน
เป็นจ านวนมากที่สุด มีจ านวน 79 เรื่องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 72.48 รองลงมา ได้แก่ ไม่ปรากฎ
ระดับชั้นข้าราชการต ารวจ มีจ านวน 18 เรื่องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 16.51 และชั้นประทวน
มีจ านวน 8 เรื่องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 7.34 ส่วนล าดับที่มีการละเมิดน้อยที่สุด พบว่า
เป็นเจ้าหน้าที่ต ารวจระดับชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนร่วมกัน มีจ านวน 4 เรื่องรายงาน คิดเป็น
ร้อยละ 3.67
จากการศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของ
เจ้าหน้าที่ต ารวจ จากข้อมูลสถิติที่เจ้าหน้าที่ต ารวจละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2552
จ านวน 109 เรื่องรายงาน พบว่าสถานที่เกิดเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีจ านวนทั้งสิ้น
41 จังหวัด มีจ านวนเรื่องรายงานและจ านวนร้อยละ จากจ านวนมากไปสู่น้อย ดังปรากฏ
ตามตารางที่ 3