Page 129 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 129
118
แนวทางป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมต่อยอดเรื่องนี้เพื่อจัดท า
เป็นคู่มือส าหรับภาคประชาชนและคู่มือปฏิบัติงานส าหรับเจ้าหน้าที่ต ารวจผู้ปฏิบัติงานต่อไป
4. ควรจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ต ารวจและประชาชนให้ทราบถึง
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ต ารวจอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีคู่มือการปฏิบัติงาน
ฉบับเจ้าหน้าที่ต ารวจหรือประชาชนประกอบการฝึกอบรม รวมทั้งให้มีการประเมินผลอย่างจริงจัง
5. ควรปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรของต ารวจให้ยึดหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษย์ชน
เสรีภาพอย่างเคร่งครัด การท างานของต ารวจจะต้องไม่มีการละเมิดสิทธิให้ต ารวจทุกคนระลึกถึง
คติของต ารวจทั้งในการท างาน ในวัฒนธรรมองค์กรของศาลมองการละเมิดเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก
ให้เน้นในเรื่องของความสุจริต เราอยากให้ต ารวจมีการปลูกฝังจากองค์กร หรือ การฝึกอบรม
หลักการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะผู้วิจัย เห็นว่า การให้ความรู้ความเข้าใจและการฝึกปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่
ของเจ้าหน้าที่ต ารวจเป็นเรื่องที่ส าคัญมากประการหนึ่งในการก าหนดมาตรการ แนวทางการป้องกัน
และแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ต ารวจ เพราะการพัฒนาบุคลากรเป็นรากฐาน
ปัจจัยส าคัญ น าไปสู่ความส าเร็จของงานตามที่ทางราชการก าหนดเป้าหมายไว้ แต่งานซึ่งเป็น
ภารกิจของเจ้าหน้าที่ต ารวจมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับและเชื่อมโยงกับหน่วยงาน
ต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่ต ารวจมีความรู้ ความเข้าใจให้ถึงระดับ
เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมืออาชีพ จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและประสบความส าเร็จ
สมความมุ่งหมายของทางราชการ
ส าหรับการจะวางแนวทางการแก้ไขและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการ
ยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ต ารวจดังกล่าวแล้ว คณะผู้วิจัยเห็นว่ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอ และควรศึกษา
ข้อมูลจากส านักงานต ารวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อวางมาตรการ
แนวทางการแก้ไข และป้องกันดังกล่าวได้อย่างครอบคลุมในการวิจัยขั้นตอนต่อไป เพื่อน าไปสู่การ
จัดท าคู่มือการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมฉบับ
เจ้าหน้าที่ต ารวจและฉบับประชาชนต่อไป