Page 110 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยสาเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 110
บทที่ 5
บทสรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุปอภิปรายผล
ผลจากการศึกษาข้อมูลตามเรื่องรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 – 2552 จ านวน 743 เรื่องรายงาน พบว่ามีเจ้าหน้าที่
ต ารวจละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมจ านวน 109 เรื่องรายงาน นอกจากนี้ยังได้
ศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และ ข้อมูลจากการสัมมนากลุ่มย่อยจากผู้เชี่ยวชาญและ
บุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานทางวิชาการ องค์กรอิสระ และองค์กร
พัฒนาเอกชน รวมทั้ง ประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและผู้เกี่ยวข้อง จากเรื่องร้องเรียน
การละเมิดสิทธิมนุษยชนจ านวน 10 เรื่องรายงาน พบว่า
ระดับชั้นข้าราชการต ารวจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน มีเจ้าหน้าที่ต ารวจ ระดับชั้น
สัญญาบัตรละเมิดสิทธิมนุษยชน จ านวน 79 เรื่องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 72.48 จากรายงานที่ไม่
ปรากฏว่าเป็นเจ้าหน้าที่ต ารวจระดับชั้นใดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน จ านวน 18 เรื่องรายงาน คิดเป็น
ร้อยละ 16.51 และเจ้าหน้าที่ต ารวจระดับชั้นประทวนและสัญญาบัตรร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชน
จ านวน 4 เรื่องรายงาน คิดเป็นร้อยละ 3.67 รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
จังหวัดซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุที่มีการการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีจ านวนทั้งสิ้น
41 จังหวัด จังหวัดที่มีการละเมิดมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ านวน 19 เรื่องรายงาน จังหวัด
เพชรบูรณ์ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 6 เรื่องรายงาน จังหวัดตาก จ านวน
5 เรื่องรายงาน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จ านวน 4 เรื่องรายงาน จังหวัดเชียงราย จังหวัด
เพชรบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยโสธร จังหวัดสระบุรี จังหวัดละ 3 เรื่องรายงาน จังหวัดตราด จังหวัด
นครราชสีมา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัด
ระนอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดล าปาง จังหวัดสกลนคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัด
สุพรรณบุรี จังหวัดละ 2 เรื่องรายงาน และจังหวัดอื่น ๆ จ านวนจังหวัดละ 1 เรื่องรายงาน ส่วนเรื่อง
รายงาน 1 เรื่องเกิดขึ้นหลายจังหวัด มีจ านวน 2 เรื่องรายงาน รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3