Page 39 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 39
หรือหน่วยงานนั้นชี้แจงข้อเท็จจริง ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการก าหนด โดยใน
การแจ้งดังกล่าวคณะกรรมการจะสรุปรายละเอียดข้อเท็จจริงเพื่อให้เพียงพอแก่การ
ชี้แจงได้โดยถูกต้องครบถ้วนด้วย
(2) ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่า เรื่องที่รับมาไม่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
หรือไม่รับไว้พิจารณา คณะกรรมกรรมการจะต้องแจ้งให้ผู้ร้องหรือองค์การเอกชนด้าน
สิทธิมนุษยชนที่ส่งเรื่องทราบโดยไม่ชักช้า และเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนจะส่งเรื่องต่อไปให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนั้นด าเนินการ
แก้ไขตามที่เห็นสมควรต่อไปก็ได้
(3) ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่า เรื่องที่รับมาควรได้รับการพิจารณาแก้ไขโดยองค์กรอื่น
ซึ่งมีอ านาจหน้าที่ คณะกรรมการอาจส่งเรื่องให้องค์กรนั้นพิจารณาได้ ไม่ว่าเรื่อง
ดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการด าเนินการของคณะกรรมการในขั้นตอนใด ในการนี้
คณะกรรมการอาจมีหนังสือสอบถามผลการด าเนินการไปยังองค์กรนั้นได้ และหาก
ปรากฏว่าองค์กรนั้นยังมิได้ด าเนินการเป็นประการใดหรือไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้
พิจารณา คณะกรรมการอาจรับเรื่องกลับไปพิจารณาหากเป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้อ านาจ
หน้าที่ของคณะกรรมการได้
(4) ในการส่งเรื่องให้องค์กรอื่นพิจารณาหรือการรับเรื่องกลับไปพิจารณาคณะกรรมการ
จะต้องแจ้งให้ผู้ร้องหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ส่งเรื่องทราบโดยไม่ชักช้า
เช่นกัน
11
โดยขั้นตอนนี้เป็นไปตามมาตรา 25
2. เมื่อพ้นก าหนดระยะเวลาการชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว คณะกรรมการด าเนินการพิจารณา
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยต้องให้โอกาสผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง
รายละเอียด และเสนอพยานหลักฐานตามสมควรเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท าที่มีการอ้างว่า เป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน หากคู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อ
หน้าคณะกรรมการ คู่กรณีมีสิทธิน าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบ
ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการก าหนด โดยในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะบุคคลดังต่อไปนี้เพื่อด าเนินการแทนได้
(1) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อท าหน้าที่สืบสวนและสอบสวน
ั
ข้อเท็จจริง รับฟงค าชี้แจงและพยานหลักฐาน และจัดท ารายงานตามระเบียบที่
คณะกรรมการก าหนดเสนอต่อคณะกรรมการได้ ในการนี้ ให้คณะอนุกรรมการมี
อ านาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ เว้นแต่คณะกรรมการจะก าหนดเป็นอย่างอื่น
(2) แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน
12
โดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 26
3. ในระหว่างการพิจารณากรณีร้องเรียน คณะกรรมการสามารถด าเนินการไกล่เกลี่ยบุคคล
ั
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คู่กรณีท าความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปญหาการละเมิดสิทธิ
ั
มนุษยชนได้ หากคู่กรณียินยอมตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปญหา และคณะกรรมการเห็นว่าการตกลง
11
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 25
12
โปรดดูภาคผนวก หมวดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ว่าด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 26
24