Page 107 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 107
กฎหมายทั่วไป คณะอนุกรรมการได้น ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ
กระทรวง ระเบียบ ตลอดทั้งมติคณะรัฐมนตรี มาใช้ประกอบ โดยจะเป็นการหยิบยกมาใช้เพียงบางมาตรา แต่
กฎหมายที่ใช้เกือบทุกกรณี คือ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2530 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ส่วนกฎหมายอื่นก็เป็นการใช้
ตามรายกรณี เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 เป็นต้น
ข้อก าหนดหรือเงื่อนไข ในการพิจารณาคณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาข้อมูลจากข้อก าหนดและ
หรือเงื่อนไขที่ก าหนดไว้ในข้อก าหนดแนบท้าย ใบอนุญาต สัญญา ข้อตกลง ตลอดทั้งมาตรการลดผลกระทบที่
ก าหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4.2 ผลจากการตรวจสอบ
คณะผู้ศึกษาได้สรุปเปรียบเทียบสัดส่วน (เป็นจ านวนร้อยละ) ของความเห็นตามรายงาน 247 กรณี และ
มาตรการในรายงานและการติดตามผลการคุ้มครองสิทธิไว้ในตารางที่ 4.1 และแสดงแผนภูมิเปรียบเทียบข้อมูลการ
ั่
เสนอมาตรการตามฐานทรัพยากรน ้า ชายฝง แร่ และสิ่งแวดล้อมในภาพที่ 4.2-1 – 4.2-4 และข้อมูลผลการติดตาม
การคุ้มครองสิทธิในภาพที่ 4.3-1 – 4.3-4 ส่วนแผนภูมิในภาพ 4.4-1 -4.4-2 เปรียบเทียบภาพรวมของกรณีร้องเรียน
ั
การเสนอมาตรการแก้ไขปญหาของคณะอนุกรรมการส่วนใหญ่เป็นการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข
ั
ปญหาและบรรเทาความเดือดร้อนในทุกๆประเด็นฐานทรัพยากรที่มีการก่อสร้างโครงการไปแล้ว การเสนอให้ยุติ
โครงการหลายโครงการจะเป็นโครงการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน ้าที่ไม่มีความจ าเป็นไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความ
ั่
เดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ การสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างวิศวกรรมชายฝงที่ก่อให้เกิดผลกระทบ
ั่
ต่อการกัดเซาะชายฝงในแนวชายหาดที่เกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงการให้ประทานบัตรกับพื้นที่เหมืองหินเหมืองแร่ ที่มี
ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน
4.2.1 ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ในการพิจารณาให้ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ ตาม
รายงานในส่วนของความเห็นของคณะอนุกรรมการได้มีกล่าวถึงหลักสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิด และน าหลักเกณฑ์ว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนตามที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ มาประกอบการพิจารณาเพื่อคุ้มครอง
ั่
สิทธิแก่ผู้ร้องเรียน โดยพบว่าสิทธิมนุษยชนที่ได้มีการกล่าวอ้างถึงทั้งจากกรณีน ้า ชายฝง แร่ พลังงานและ
สิ่งแวดล้อม นั้นสามารถแบ่งหมวดหมู่ออกได้ ดังนี้
- สิทธิในการก าหนดวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับหลักกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิ
พลเมือง และการเมือง เรื่องสิทธิที่จะไม่ถูกลิดรอนจากวิถีทางแห่งการยังชีพของตน (ดูตัวอย่างในตารางที่ 4.2
ประกอบ)
- สิทธิในการมีส่วนร่วมในการบ ารุงรักษาทรัพยากรและการจัดการ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วย สิทธิในเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เรื่องสิทธิในการจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้
อย่างเสรี (ดูตัวอย่างในตารางที่ 4.3 ประกอบ)
- สิทธิในชีวิต ซึ่งตรงกับสิทธิในสุขภาพอนามัย และสิทธิที่มีมาแต่ก าเนิดของปวงชนในอันที่จะอุปโภคและ
ใช้ประโยชน์โภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่และเสรี (ดูตารางที่ 4.4 ประกอบ)
- สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิที่มีมาแต่ก าเนิดของปวงชนในอันที่จะอุปโภคและใช้ประโยชน์โภคทรัพย์และ
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่และเสรี (ดูตัวอย่างในตารางที่ 4.5 ประกอบ)
- สิทธิชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งปีพ.ศ.2540 และปีพ.ศ.2550 (ดู
ตัวอย่างในตารางที่ 4.6 ประกอบ)
92