Page 106 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 106

บทที่ 4

                              วิเคราะห์กระบวนการตรวจสอบและผลของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                   4.1 หลักการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
                                                             ั่
                          คณะอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน ้า ชายฝง แร่ และสิ่งแวดล้อม เมื่อได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบกรณี
                   ร้องเรียนจะใช้กระบวนการตรวจสอบเอกสาร การศึกษาในพื้นที่ และการชี้แจงด้วยวาจา ตามอ านาจหน้าที่ใน
                   พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542  และจัดท ารายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
                   มนุษยชนตามที่แสดงเป็นแผนภูมิในภาพที่ 4.1 และมีกระบวนการที่ส าคัญดังต่อไปนี้
                          4.1.1 วิธีการตรวจสอบ

                                ลงพื้นที่ตรวจสอบ บันทึกการชี้แจงด้วยวาจา และบันทึกภาพในการลงพื้นที่
                                ชี้แจงด้วยเอกสาร โดยมีหนังสือถึงผู้ถูกร้องเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณี ที่
                                 สามารถให้ข้อมูลต่อเรื่องร้องเรียนอันเนื่องมาจากอ านาจหน้าที่ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

                                ประชุมชี้แจงด้วยวาจา ทั้งเพื่อตรวจสอบ และเพื่อการไกล่เกลี่ยเจรจาในบางกรณี โดยเชิญ
                                 หน่วยงานที่ถูกร้องเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการฯ ตลอดทั้งแจ้งและ
                                                             ั
                                 หรือเชิญผู้ร้องเรียนเพื่อเข้าร่วมรับฟงการตรวจสอบ
                                                                                             ั
                                ประชุมสรุปท ารายงานการตรวจสอบ เพื่อเสนอความเห็นให้แก้ไขปญหา หรือยุติการ
                                 ตรวจสอบ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยน าเสนอรายงานให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                 พิจารณาเพื่อออกเป็นรายงานตามขั้นตอนแห่งกฎหมาย
                          4.1.2 หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯใช้ในการตรวจสอบ
                                                                                                   ั่
                          จากการศึกษาทบทวนและวิเคราะห์รายงานในคณะอนุกรรมการในทรัพยากรน ้า ชายฝง แร่ และ
                   สิ่งแวดล้อม พบว่า หลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการฯใช้ในการพิจารณาตรวจสอบ นอกจากข้อมูลที่ได้รับจากผู้
                   ร้องเรียน ผู้ถูกร้อง และหน่วยงานเกี่ยวข้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯได้น าเอาหลักสิทธิมนุษยชนที่ก าหนดไว้ใน
                   รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ รวมทั้งหลักกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ ตลอดทั้งเงื่อนไขหรือข้อก าหนดที่มีอยู่
                   ท้ายใบอนุญาตต่างๆ มาประกอบในการพิจารณาเพื่อมีความเห็นและก าหนดมาตรการต่างๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว
                                       ั่
                   พบว่า ทั้งกรณีน ้า ชายฝง แร่ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์ที่เหมือนกัน ในส่วนของ
                   รัฐธรรมนูญ และกติกาสากลระหว่างประเทศ คงมีเพียงในระดับกฎหมายทั่วไป และข้อก าหนดที่มีการใช้แตกต่างกัน
                   ไปตามกรณี ซึ่งสามารถรวบรวมหลักเกณฑ์ส าคัญที่ได้มีการน ามาใช้ ดังนี้
                                รัฐธรรมนูญ โดยระหว่างวาระของคณะอนุกรรมการฯได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ จึง

                   มีการน ามาใช้ตามช่วงเวลาในการตรวจสอบ  ทั้งนี้มีการน ามาปรับใช้เพียงบางมาตรา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่ง
                   ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่าด้วยหมวดบททั่วไป  หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวดนโยบาย
                   พื้นฐานแห่งรัฐ หมวดรัฐสภา ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
                   2550 หมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนสิทธิชุมชน ส่วนแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ
                   สิ่งแวดล้อม

                                กติการะหว่างประเทศ คณะอนุกรรมการฯหยิบยกมาใช้เพียง 2 ฉบับ และบางข้อที่เกี่ยวข้อง
                   ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ว่าด้วยสิทธิในการก าหนดวิถีชีวิต
                   ตนเอง การตีความในเรื่องสิทธิปวงชนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

                   ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ว่าด้วยสิทธิในการก าหนดวิถีชีวิตตนเอง สิทธิในการได้รับมาตรฐานขั้น
                   พื้นฐานในการครองชีพ สิทธิและเสรีภาพในการใช้และได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ



                                                              91
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111