Page 119 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 119

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




                                     (๓.๑๐)  การค้นที่อยู่หรือสำานักงานของ
            ผู้ต้องหาหรือจำาเลย ซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้ทำาต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้น

            ไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำากับ จะตั้งผู้แทนหรือให้พยานมากำากับ
            ก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพยานไม่มี ให้ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัว หรือต่อหน้า
            พยาน

                                     (๓.๑๑)  สิ่งของที่ยึดได้ต้องให้ผู้ครอบครอง
            สถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำาเลย ผู้แทนหรือพยานดูเพื่อให้รับรอง
            ว่าถูกต้อง ถ้าบุคคลดังกล่าวนั้นรับรองหรือไม่รับรองก็ให้บันทึกไว้

                                     (๓.๑๒)  เจ้าพนักงานผู้ค้น ต้องบันทึก
            รายละเอียดแห่งการค้นและสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องทำาบัญชีรายละเอียดไว้
            และให้อ่านบันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคล

            ในครอบครัว ผู้ต้องหา จำาเลย ผู้แทนหรือพยานฟังแล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้น
            ลงลายมือชื่อรับรองไว้

                                     (๓.๑๓)  เจ้าพนักงานที่ค้นโดยมีหมาย ต้องรีบ
            ส่งบันทึกและบัญชีสิ่งของพร้อมด้วยสิ่งของที่ยึดมา ถ้าพอจะส่งได้ ไปยัง
            ผู้ออกหมายหรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กำาหนดไว้ในหมาย


                     ๓.๘.๔   การค้นตัวบุคคล

                     การค้นตัวบุคคลหรือกระทำาการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ
            จะกระทำามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช
            อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒

                     การค้นตัวบุคคล มี ๓ กรณีด้วยกัน คือ










                                          95
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124