Page 105 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 105
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
(๕) ให้เจ้าพนักงานผู้รับมอบตัวแจ้งสิทธิให้ผู้ถูก
จับทราบว่า
(๕.๑) มีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
(๕.๒) ถ้าให้การ ถ้อยคำาของผู้ถูกจับอาจใช้
เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(๖) เมื่อส่งตัวผู้ถูกจับให้แก่พนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำารวจของที่ทำาการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวแล้ว ให้พนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตำารวจ ซึ่งมีผู้นำาผู้ถูกจับมาส่ง แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิตาม
ที่กำาหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา ๗/๑
(๗) รวมทั้งจัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติ
หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูก
ควบคุมได้ในโอกาสแรกเมื่อผู้ถูกจับมาถึงพนักงานสอบสวน
(๘) หรือถ้ากรณีผู้ถูกจับร้องขอให้พนักงานฝ่าย
ปกครองหรือตำารวจเป็นผู้แจ้ง ก็ให้จัดการตามคำาร้องขอนั้นโดยเร็ว
(๙) และให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ
บันทึกไว้ ในการนี้มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกจับ
๓.๗.๖ ข้อแตกต่างของการจับโดยเจ้าพนักงานและการจับ
โดยราษฎร
ปรากฏดังตารางต่อไปนี้
81