Page 56 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 56
ปัจจุบันมีโครงการหลวงขยายเป็นกิจการ ๓๔ สาขา ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
แม่ฮ่องสอน ลำาพูน พะเยา และน่าน สามารถครอบคลุมหมู่บ้าน ประมาณ ๒๙๔ หมู่บ้าน และครอบครัว
๑๔,๐๙๘ ครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่น ซึ่งมีการรณรงค์เรื่องการฟื้นฟูสภาพติดยาขึ้นที่
หนองหอยเป็นแห่งแรก และมีการสร้างโรงเรียนชายแดนขึ้น มีการจัดตั้งธนาคารข้าวในหลายหมู่บ้าน
เพื่อช่วยเหลือตนเอง และจัดตั้งโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง ขนาดเล็ก ๓ แห่งที่จังหวัดเชียงใหม่
และเชียงราย เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชาวไทยภูเขาออกสู่ตลาด ด้วยพระปรีชาสามารถ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำาให้มีโครงการหลวงขึ้น และในพุทธศักราช ๒๕๓๑ โครงการหลวง
จึงได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ทำาให้ทั่วโลกได้ตระหนัก
ในพระปรีชาสามารถของพระองค์
โครงการหลวงนั้นได้ให้ประโยชน์ไปยังหมู่บ้านชาวไทยภูเขาประมาณ ๓๐๐ แห่ง มี
สถานีดำาเนินการ ๓๔ แห่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการหลวงประมาณ ๑๔,๐๙๘ ครอบครัว ทำาให้มีความ
เป็นอยู่ดีขึ้นตามพระราชประสงค์ โดยเฉพาะการปลูกพืชผัก ผลไม้เมืองหนาว และกาแฟ นั้นได้เข้าไป
ทดแทนที่ทำาให้การปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาที่ทำามาแต่เดิมนั้นลดลงถึงร้อยละ ๘๕ ปัจจุบันนี้ผลผลิต
จากโครงการหลวงได้นำาออกสู่ตลาดอย่างแพร่หลาย
ชาวเขาในท้องถิ่นต่างๆ ของภาคเหนือเปลี่ยนวิถีชีวิตทิ้งฝิ่นหันมาปลูกพืชเมืองหนาว
เพื่อยังชีพภายใต้การดูแลของนักวิชาการเกษตรของโครงการหลวงที่คอยให้คำาแนะนำา ภาพลักษณ์
และความเป็นอยู่ของชาวเขาดีขึ้นอย่างน่าปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
56 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น