Page 167 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 167

166      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       สงครามทําลายสิทธิในการทํางานและการปกป้องทรัพย์สมบัติ  เพราะในภาวะสงครามผู้คนก็ไม่
                สามารถใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพได้ตามปกติ นอกจากนี้สงครามยังสร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงแก่

                ทรัพย์สินของผู้คน เหตุการณ์สงครามจึงถือเป็นการละเมิดสิทธิที่มนุษย์พึงมี

                       นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว เหตุการณ์สงครามในแต่
                ละครั้งยังถือเป็นการลิดรอนสิทธิในอาหาร สุขภาพ และที่อยู่

                อาศัยของมนุษย์ มนุษย์มีสิทธิในการได้รับอาหารที่พอเพียงแก่
                การดํารงชีวิต มีสิทธิที่จะดูแลตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และมี
                สิทธิที่จะมีที่อยู่อาศัยตามอัตภาพ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นมาตรฐาน

                การครองชีพซึ่งมนุษย์ควรจะมีสิทธิได้รับอย่างพอเพียง แต่
                สงครามกลับเป็นปัจจัยในการลิดรอนหรือทําลายสิทธิเหล่านี้

                ผู้คนมากมายต้องอดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม และไร้ที่อยู่
                อาศัยเพราะพิษสงคราม                                      สภาพชีวิตในระหว่างสงคราม


                       เหนือสิ่งอื่นใด สงครามถือเป็นความรุนแรงที่มนุษย์ผู้เคราะห์ร้ายจําต้องเผชิญ เพราะสงครามได้ทํา
                ร้ายมนุษย์ให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างแสนสาหัส สําหรับความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย
                นั้นอาจเยียวยารักษาให้หายได้ แต่ความเจ็บปวดทางใจนั้น แม้เวลาจะผ่านไปยาวนานสักเพียงไหน ก็ยากยิ่งที่

                คนๆ หนึ่งจะลืมความทุกข์ทน ความหวาดกลัว และความรู้สึกในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญชะตากรรมอันเลวร้ายไป
                ได้ ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าก็คือ สงครามละเมิดสิทธิในการมีอยู่ของมนุษย์ เพราะสงครามได้คร่าเอาชีวิตของมนุษย์ไป

                โดยมนุษย์ผู้นั้นไม่ยินยอมเลยแม้แต่น้อย

                       จากแผนผังข้างต้น จะเห็นได้ว่าสงครามลิดรอนและละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายระดับ เว้นเพียงแต่
                สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีโดยเที่ยงธรรมและการห้ามการทรมาน เสรีภาพทางความคิดและความเชื่อ

                ในสิทธิของการศึกษา และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติเท่านั้น


                  สงครามกับกวีนิพนธ์

                       เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นในสังคม นักเขียนหรือกวี ผู้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมย่อมเกิดอารมณ์

                สะเทือนใจต่อเหตุการณ์นั้นๆ แล้วจึงถ่ายทอดออกมาในรูปของวรรณกรรมหรือข้อเขียนที่มีรูปแบบที่
                หลากหลาย อาทิ บันทึกความทรงจํา นวนิยาย เรื่องสั้น หรือแม้แต่กวีนิพนธ์ ในฐานะที่นักเขียนหรือกวีเป็นผู้

                ประกอบสร้างงานศิลปะ  เสฐียรโกเศศ (2533) กล่าวไว้ใน การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ ว่ากวีใช้ความรู้
                และความชํานาญทางแต่งหนังสือ ซึ่งเป็นเทคนิคของตน เป็นพาหะนําเอาจินตนาการ (imagination)  และ

                อารมณ์สะเทือนใจ (emotion)  ของตนแสดงออกเป็นวรรณคดี ดังนั้น เมื่อเกิดสงคราม ซึ่งถือเป็นภาวะของ
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172