Page 165 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 165

164      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                  บทนํา

                       มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การรวมกลุ่มเป็นสังคมของมนุษย์ทําให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่ง

                ปฏิสัมพันธ์ตามธรรมชาติของมนุษย์มี 2 ด้านคือ  ความร่วมมือและความขัดแย้ง ความร่วมมือทําให้มนุษย์อยู่
                ร่วมกันได้โดยสันติ และเกิดความเป็นระเบียบในสังคม ในทางกลับกัน เมื่อมนุษย์มีความเห็น ความต้องการ

                ตลอดจนความปรารถนาที่แตกต่างกัน และมนุษย์ทุกคนก็ต่างมีเป้าประสงค์ที่จะสร้างสิ่งที่ตนมุ่งหวังให้สําเร็จ
                จึงอาจทําให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งและไม่สามารถหาทางออกร่วมกันได้ มนุษย์มักจะหา

                ทางออกด้วยการใช้กําลังหรือความรุนแรงเสมอ

                       สงครามเป็นการใช้กําลังและเป็นความรุนแรงที่มนุษย์เลือกใช้เป็นทางออกของความขัดแย้ง สงคราม
                จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งและไม่สามารถแก้ไขหรือหาทางออกได้ด้วยสันติวิธี และความขัดแย้งดังกล่าว

                มักจะเป็นความขัดแย้งที่ขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อให้เกิดผลกระทบตลอดจนเกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรง
                เมื่อเกิดสงครามขึ้นไม่ว่าจะเป็นสงครามครั้งใด เป็นสงครามระดับรัฐ ชาติ หรือจักรวรรดิก็ตาม ภาวะการเกิด

                สงครามล้วนถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น

                  สงครามกับสิทธิมนุษยชน


                       สิทธิมนุษยชนมีหลายระดับ จากการศึกษาแผนผัง Dimensions of Human Life and the

                Protection of Human Rights (Kälin, Müllerm, and Wyttenbach, 2004) กล่าวถึงระดับของสิทธิ
                มนุษยชนไว้ดังนี้
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170