Page 14 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 14
ออกจากจุดจบหายนะนี้ย่อมอยู่ที่การเปลี่ยนไปสู่ ‚หลักการสร้างความคุ้มครองทางสังคม ซึ่งมุ่งไปที่
การอนุรักษ์มนุษย์และธรรมชาติ รวมทั้งองค์กรการผลิต โดยอาศัยแรงสนับสนุนจากบรรดาผู้ที่ได้รับ
15
ผลกระทบโดยตรงจากพิษภัยของระบบตลาด...‛ หรือหากจะกล่าวในบริบทของสถานการณ์
ปัจจุบันก็คือสิ่งที่ เจมส์ โรเบิร์ตสัน มองว่าจะต้องมีการสร้างสรรค์เศรษฐกิจระดับโลกที่ เกื้อกูล
16
มนุษย์ และ อนุรักษ์ธรรมชาติ หลักการและแนวปฏิบัติทางสังคมเช่นนี้ ปวงชนพื้นเมืองและชุมชน
ชนบททั้งหลายย่อมคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะมันก็คือวิถีชีวิตปกติตามจารีตของพวกเขา
นั่นเอง ไม่ใช่สิ่งแปลกพิเศษอะไรเลย แต่ส าหรับกระแสโลกแห่งอุตสาหกรรมนิยม ซึ่งเสรีภาพของทุน
และระบบตลาดเสรี ได้กลายเป็นระบอบควบคุมเบ็ดเสร็จเปี่ยมด้วยสมบูรณาญาสิทธิ์เหนือสรรพชีวิต
บนพื้นพิภพแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมดูประหนึ่งสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย
เราจึงควรท าความเข้าใจประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นจาก
มุมมองระดับโลกดังได้กล่าวมานี้ สิ่งที่ก าลังล่อแหลมเป็นอย่างยิ่งก็คือเสรีภาพและความก้าวหน้า
ของมนุษย์ ก้าวแรกที่พึงกระท าก็คือ ปวงชนและชุมชนระดับรากหญ้าทั้งปวงจะต้องรวมตัวกันเป็น
แนวร่วม เพื่อเผชิญหน้ากับโครงสร้างอ านาจข้ามชาติ และแท้ที่จริง ด้วยเหตุที่ความฉ้อฉลและการ
ขยายตัวของมันก าลังถึงขีดที่ไม่อาจยอมรับกันได้ บรรดาตัวแทนของทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งได้แก่
บรรษัทข้ามชาติ ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก ฯลฯ จึงต้องเผชิญหน้ากับการประท้วงอย่างเข้มข้นและ
การต่อต้านอย่างเหนียวแน่นจากประชาชนสามัญทุกหนทุกแห่งทั้งในเมืองและชนบทอยู่แล้ว แต่
ปฏิบัติการบนท้องถนนและแถลงการณ์ต่าง ๆ โดยตัวมันเองไม่อาจก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อันใด หาก
ปราศจากการรับรองและท าให้สิทธิชุมชนปรากฏเป็นจริงขึ้นในระดับรากหญ้าทั้งโดยหลักการและ
ในทางปฏิบัติ และกล่าวส าหรับบทบาทของรัฐชาติ เราคงคาดหวังได้น้อยมากจากระบบชนชั้นน าใน
ปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักแปลกแยกจากประชาชนของตน ในทางตรงข้าม การเสริมพลังชุมชน
ท้องถิ่นต่างหาก ที่กลับจะช่วยให้รัฐชาติทั้งหลายเผชิญหน้ากับภัยคุกคามระดับข้ามชาติได้อย่างเป็น
ปึกแผ่นเข้มแข็ง มนุษยชาติได้ผ่านยุคสมัยของการสร้างชาติ การปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและการ
พัฒนา โดยยึดรูปแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตก ตลอดเวลาที่ผ่านมา ชุมชนท้องถิ่นถูกละเลย
และสิทธิในทรัพยากรตามจารีตของพวกเขาถูกเพิกเฉยลิดรอน ผลลัพธ์ก็คือ มนุษย์ยากจนลง และ
ธรรมชาติเสื่อมโทรมลง ดังนั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ เราต้องการประชาธิปไตยแนวใหม่ โดยจะต้อง
ก่อก าเนิดจากชุมชนท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน และปวงชนพื้นเมืองกับชุมชนชนบทย่อมเป็นส่วนส าคัญ
อย่างยิ่งยวดของค าตอบ
อีกประเด็นหนึ่งที่ขอกล่าวถึงในท้ายที่สุดก็คือ ความจ าเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปตัวเอง ซึ่ง
ผมได้กล่าวไว้ในตอนต้น สิ่งที่พึงเน้นย้ าก็คือการพึ่งตนเองและสิทธิในการพัฒนาตนเอง การที่เรา
หยิบยกประเด็นสิทธิชุมชนขึ้นมานี้ มิใช่เพียงเพื่อสร้างกลไกปกป้องการคุกคามจากภายนอกเท่านั้น
แต่เพื่อความมุ่งหมายที่จะให้เป็นรากฐานของระเบียบประชาธิปไตยอย่างใหม่ในระดับโลก อันจะท า
ให้หลักการคุ้มครองทางสังคมและเศรษฐกิจ ชนิดที่เกื้อกูลมนุษย์ / อนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถมีการ
จัดตั้งเป็นจริงขึ้นมาได้ นี่ย่อมหมายความว่า นอกเหนือไปจากสิทธิในทรัพยากรตามจารีตดังที่ได้
ก าหนดไว้อย่างดีในร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของปวงชนพื้นเมืองแล้ว เรายังต้องท าบางสิ่งบางอย่าง
๑๒