Page 13 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 13

ได้ตัดสินเมื่อปี ค.ศ.๑๙๘๐  บัญญัติให้สิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่น ามาจดสิทธิบัตรได้   นี่เท่ากับเป็นการจัดตั้ง

                  นโยบายใหม่โดยล าพังฝ่ายเดียว  เปิดทางให้กับบรรษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา   ซึ่งกุมอ านาจทั้ง
                  ทางด้านทุน เทคโนโลยีและตลาด  สามารถจดสิทธิบัตรในพันธุ์พืชและสัตว์พื้นถิ่นต่างๆ ได้   เท่ากับ
                  เป็นการกุมอ านาจทางความรู้ไปในตัว  นับแต่นั้นมา  ก็มีการออกสิทธิบัตรจ านวนไม่น้อยให้กับกรณี

                  อย่างพันธุ์ไม้และพันธุ์ข้าวบาสมาติของอินเดีย  กรณีข้าวหอมมะลิและพืชสมุนไพรของไทย   และยังมี

                  อีกหลายกรณีที่ตามมา  กรณีเหล่านี้คงเป็นที่ทราบกันดี  และล้วนเป็นการกระท าตามอ าเภอใจอย่าง
                  อุกอาจ  ยิ่งไปกว่านั้น  ขณะนี้ยังมีการจัดตั้งระบอบสิทธิบัตรในระดับโลกขึ้นในองค์กรการค้าโลก
                  (World Trade Organization)  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่

                  เกี่ยวข้องกับการค้า (Trade Related Intellectual Property (TRIPS))  ซึ่งจะยัดเยียดให้กับประเทศ

                           13
                  โลกที่สาม    หากกระท าส าเร็จ  ไม่เพียงแต่ความหลากหลายทางชีวภาพและองค์ความรู้พื้นเมือง
                  จะต้องตกอยู่ในอันตรายจนอาจสูญสลายไปได้เท่านั้น   แต่มันยังหมายถึง  การควบคุมสิ่งมีชีวิตทั้ง
                  มวลบนพื้นพิภพนี้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วย   และทั้งหมดนี้ก็เช่นกัน  ล้วนมาในนามของเสรีนิยม

                  ทางเศรษฐกิจและตลาดเสรี

                         นอกจากนี้   ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดยังสะท้อนให้เห็นว่า  แนวคิดสิทธิมนุษยชนที่ตะวันตก
                  ตีกรอบขึ้นนั้น   ต้องตกอยู่ภายใต้กรอบของปัจเจกชนนิยม   สิทธิในทรัพย์สินและหลักนิติธรรม
                  อย่างไร   ดังที่  ศาสตราจารย์เอ็ดวาร์ด  เฮอร์แมน  แห่งส านักวอร์ตัน  ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนและน่า

                  รับฟังว่า

                          “กระบวนการเติบโตที่ผู้คนเป็นจ านวนมากต้องประสบทุกข์ได้ยาก  ในขณะที่ชนชั้น
                         น ากลุ่มเล็กๆ กลับมั่งคั่ง   ย่อมต้องอาศัยการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงมิใช่
                         หรือ   ถ้าตอบตามทฤษฎีเสรีนิยมและตามค าจ ากัดความขององค์กรใหญ่ๆ ด้านสิทธิ

                         มนุษยชนทางตะวันตก  ก็ต้องตอบว่า  ไม่ใช่   สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิทาง

                         การเมืองและเป็นสิทธิส่วนบุคคล...ย่อมไม่รวมถึงสิทธิในเศรษฐกิจ ในการยังชีพ
                         การศึกษา การรักษาสุขภาพ ที่อยู่อาศัยและการมีงานท า  ดังนั้น  หากเกิดการตก
                         ทุกข์ได้ยากสืบเนื่องจากกลไกการท างานตามปกติของระบบตลาด   ซึ่งมีรากฐานมา

                         จากอ านาจทางเศรษฐกิจของบรรษัทและธนาคารเอกชน   ด้วยความช่วยเหลือของ
                         ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก  รัฐบาลสหรัฐฯ  และระบอบประชาธิปไตยแต่ในนามอย่าง

                         เม็กซิโกหรือชิลี  ถือว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้อง”
                                                                               14


                  แลไปข้างหน้า

                         ดังนั้น  หลังจากสามศตวรรษผ่านไป   เสรีนิยมตะวันตกที่เคยได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญก็จบ

                  ลงด้วยการยัดเยียดชุดสิทธิมนุษยชนของตนให้กับโลก   ในลักษณะที่ถือว่าสัมบูรณ์และสากล   จึง
                  เท่ากับว่าอ านาจคือธรรม  และ ‚ธรรม (right)‛ ที่อ้างเอาเองฝ่ายเดียวนี้ก็พ่วงท้ายด้วยการปกครอง

                  ตามอ าเภอใจและความล่มสลายทางสังคม   นี่ก็คือแก่นแท้ของประเด็น   และดังที่ คาร์ล  โปลองยี
                  เสนอไว้ในงานวิเคราะห์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมอันแหลมคมของเขา   ทางเลือกก้าว





                                                             ๑๑
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17