Page 28 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 28

-๑๔-

                            (๓) เรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอ านาจขององค์กรอิสระอื่น หรือที่องค์กรอิสระอื่นรับไว้ด าเนินการ
                  ตามหน้าที่และอ านาจขององค์กรอิสระนั้นแล้ว แต่ไม่ตัดอ านาจในการที่จะขอรับทราบผลการพิจารณา
                  ขององค์กรอิสระที่รับเรื่องไว้ด าเนินการ

                            (๔) เป็นการร้องเรียนโดยใช้สิทธิไม่สุจริตและการพิจารณาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
                  โดยส่วนรวม

                            (๕) เรื่องที่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว
                            (๖) เป็นเรื่องที่คณะกรรมการเคยพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เว้นแต่
                  จะปรากฏพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใหม่อันอาจท าให้ผลการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไป

                            (๗) เรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการก าหนด
                            ในกรณีที่ความปรากฏในภายหลังว่าเป็นเรื่องที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ

                  สั่งยุติเรื่อง

                            มาตรา ๔๐ ให้คณะกรรมการจัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                  ของประเทศประจ าปีให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินเพื่อเสนอต่อรัฐสภาและ

                  คณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป  ทั้งนี้ ให้กรรมการมาแถลงรายงานดังกล่าว
                  ต่อรัฐสภาด้วย

                            ในกรณีที่มีสถานการณ์อันกระทบหรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างร้ายแรง
                  ให้คณะกรรมการด าเนินการตรวจสอบแล้วจัดท ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                  ของประเทศในเรื่องนั้นขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อรายงานให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว พร้อมทั้ง

                  เผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
                            ในกรณีที่คณะกรรมการจัดท ารายงานตามวรรคหนึ่งไม่แล้วเสร็จภายในก าหนดเวลา

                  จะขยายเวลาออกไปอีกไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันก็ได้แต่ต้องแจ้งให้รัฐสภาทราบ ในกรณีที่ยังไม่สามารถ
                  เสนอรายงานดังกล่าวต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีได้ภายในก าหนดเวลาที่ขยายโดยไม่มีเหตุอันสมควร

                  ให้คณะกรรมการพ้นจากต าแหน่งทั้งคณะ
                            การจัดท ารายงานตามมาตรานี้ ให้กระท าเป็นการสรุป โดยอย่างน้อยในรายงาน
                  ต้องประกอบด้วย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยมิให้

                  ระบุรายละเอียดอันเป็นการเปิดเผยความลับของบุคคลหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องโดยไม่จ าเป็น
                  และต้องค านึงถึงความถูกต้อง เป็นธรรม และผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นส าคัญด้วย ทั้งนี้

                  ให้หน่วยงานของรัฐที่คณะกรรมการร้องขอ แจ้งข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
                  ในส่วนที่อยู่ในหน้าที่และอ านาจให้คณะกรรมการทราบ และให้น าความในมาตรา ๓๕ (๑) มาใช้บังคับ
                  โดยอนุโลม


                            มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการจัดให้มีแผนการด าเนินการตามมาตรา ๔๐ เพื่อให้การปฏิบัติ
                  หน้าที่แต่ละกรณีเป็นไปโดยไม่ชักช้า และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ก าหนดไว้


                            มาตรา ๔๒ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการแก้ไขปัญหาหรือการป้องกันเพื่อมิให้เกิด
                  การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องใดหรือลักษณะใดขึ้นอีก จ าเป็นต้องมีการก าหนดมาตรการหรือแนวทาง

                  ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุง กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ





                                                                                                                  17
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33