Page 256 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 256
๓
ข้อ ๙ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑) จัดท ากฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการ
ด าเนินงานของส านักงาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และมีการสอบทานความเหมาะสม
ของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๒) สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหาร
ความเสี่ยงและกระบวนการก ากับดูแลที่ดี รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของส านักงาน
และระบบการรับแจ้งเบาะแส
(๓) สอบทานให้ส านักงานมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
(๔) สอบทานการด าเนินงานของส านักงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับหรือ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการด าเนินงาน รวมทั้งข้อก าหนดอื่นของส านักงาน
(๕) ก ากับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของส านักงาน ให้มีความเป็นอิสระเพื่อพัฒนา
การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๖) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีโอกาส
เกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของส านักงาน
(๗) เสนอความเห็นการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้น เลื่อนต าแหน่ง และประเมินผลงาน
ของหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการ
(๘) ประชุมหารือร่วมกับส านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีที่ส านักงานการตรวจเงิน
แผ่นดิน เห็นชอบเกี่ยวกับผลการตรวจสอบและเรื่องอื่นๆ และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบ
รายการใดที่เห็นว่าจ าเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการ
(๙) รายงานผลการด าเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย
การรายงานต่อคณะกรรมการและการรายงานต่อบุคคลภายนอก ทั้งนี้ การรายงานต่อบุคคลภายนอก
ให้รายงานในรายงานประจ าปีของส านักงานหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของส านักงาน โดยประธานกรรมการ
ตรวจสอบเป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว และต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้
ก. ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการ
บริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของส านักงาน
ข. ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านการเงิน
ค. จ านวนครั้งในการจัดประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของ
กรรมการตรวจสอบแต่ละราย
(๑๐) ประเมินผลการด าเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยตรวจสอบภายใน รวมทั้งเสนอแนะ
แนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ต่อคณะกรรมการ
(๑๑) คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการประชุมและประเมินผลการปฏิบัติงาน ดังนี้
ก. ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ควรก าหนดไม่น้อยกว่าสี่ครั้งต่อปี โดยองค์ประชุมและ
การลงมติที่ประชุม ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบที่ผ่านความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการ และคณะกรรมการตรวจสอบควรมีการประชุมร่วมกับผู้บริหารของส านักงาน
ผู้ตรวจสอบภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอก อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
245