Page 113 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567)
P. 113
๒
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งด ารงต าแหน่งเลขาธิการและรองเลขาธิการมีหน้าที่และ
อ านาจในการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
รวมถึงให้มีหน้าที่และอ านาจดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ขอให้หน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานดังกล่าว หรือบุคคลใด
มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือมาให้ถ้อยค า หรือส่งวัตถุ เอกสาร
หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
(๒) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือรวบรวมพยานหลักฐาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ในกรณีที่เคหสถานหรือสถานที่
ที่จะเข้าไปนั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยินยอม
ให้เข้าไปได้เมื่อมีหมายของศาล ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๓) หน้าที่และอ านาจอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ ๗ นอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๖ แล้ว คณะกรรมการอาจแต่งตั้งบุคคลที่ด ารงต าแหน่งอื่น
หรือบุคคลดังต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อด าเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้น
แทนก็ได้
(๑) ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง ของส านักงาน
(๒) ข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานราชการ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ในหน่วยงานอื่นของรัฐนอกจากบุคคลตาม (๑)
ข้อ ๘ บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มี
ลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานที่ส านักงานหรือเคยปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นของรัฐมาเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่าหกเดือน
102