Page 15 - สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม หัวข้อ การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2562
P. 15
ปาฐกถา
“มาตรการคุ้มครองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน”
รองศาสตราจารย์ ดร. ปกป้อง ศรีสนิท
กล่าวชื่นชมผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ และความกล้าหาญ
เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นให้เกิดผลเป็นจริง
ไม่ใช่เป็นเพียงตัวอักษรที่ปรากฏอยู่ในกระดาษ
และกล่าวถึงลักษณะส�าคัญหลักซึ่งถือเป็นหัวใจของสิทธิมนุษยชน คือ (๑) ความเป็น
สากล มนุษย์ไม่ว่าเกิดที่ใดล้วนมีสิทธิเช่นเดียวกัน สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ติดตัวมา
แต่ก�าเนิดและไม่อาจโอนให้แก่กันได้ (๒) ความพึ่งพากัน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ด้านหนึ่ง ย่อมส่งเสริมให้สิทธิมนุษยชนด้านอื่นพัฒนาขึ้น ในขณะเดียวกัน การละเมิด
สิทธิมนุษยชนด้านหนึ่ง ย่อมส่งผลเสียต่อสิทธิมนุษยชนด้านอื่นเช่นกัน (๓) ความ
เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ มนุษย์ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
โดยไม่มีการแบ่งแยกเพราะเหตุแห่งความแตกต่างใด ๆ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนที่เป็นสิทธิ
เด็ดขาดหรือสิทธิที่ไม่อาจพักใช้ได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ นั้น เป็นสิทธิที่ติดตัวมาแต่ก�าเนิด
ซึ่งไม่ว่าจะอยู่สถานการณ์ใด เช่น สถานการณ์ฉุกเฉิน สถานการณ์ความไม่สงบ ฯลฯ
รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่อาจใช้อ้างเหตุละเมิดสิทธิเหล่านี้ได้ โดยสิทธิเด็ดขาด
ประกอบด้วยสิทธิที่จะไม่ถูกฆ่านอกกฎหมาย สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน สิทธิที่จะ
ไม่ถูกบังคับให้สูญหาย สิทธิที่จะไม่ถูกปฏิบัติอย่างทาสหรือเอาไปเป็นทาส สิทธิที่จะ
ไม่ถูกจ�าคุกเพียงเพราะไม่ชาระหนี้ทางแพ่งตามสัญญา สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับใช่กฎหมาย
อาญาย้อนหลัง สิทธิที่ยอมรับเป็นบุคคลต่อหน้ากฎหมาย รวมถึงสิทธิเสรีภาพ
ในความคิดและความเชื่อทางศาสนา
๑๔ การประกาศเกียรติยศผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจ�าปี ๒๕๖๒
01-96_ok.indd 14 29/8/2562 14:05:10