Page 140 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 140
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
6) จังหวัดตรัง
ตามข้อกำาหนดในร่างผังเมืองรวมจังหวัดตรัง ที่คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ
กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2550 นั้น พื้นที่สีเขียวที่เป็นพื้นที่ชนบทเกษตรกรรม กำาหนด
ข้อห้ามจัดสรรเพื่ออุตสาหกรรม
อุตส�หกรรมบ�งประเภทที่ห้�มทำ�ในพื้นที่ชนบทเกษตรกรรม จังหวัดตรัง คือ
- โรงงานประเภทที่ 42: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ สารเคมีหรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ย
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
- โรงงานประเภทที่ 49: โรงงานกลั่นนำ้ามันปิโตรเลียม
- โรงงานประเภทที่ 50: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ถ่านหินหรือ
ลิกไนต์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
- โรงงานประเภทที่ 59: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตเหล็ก
หรือเหล็กกล้าในขั้นต้น
- โรงงานประเภทที่ 60: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุงผสม ทำาให้บริสุทธิ์ หลอม หล่อ รีด ดึง
หรือผลิตโลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า
- โรงงานประเภทที่ 88: โรงงานผลิต ส่ง หรือจำาหน่ายพลังงานไฟฟ้า
- โรงงานประเภทที่ 89: โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ ส่งหรือจำาหน่ายก๊าซ
- โรงงานประเภทที่ 101: โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม
- โรงงานประเภทที่ 106: โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว
หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทาง
อุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม พื้นที่สีเขียวชนบทและเกษตรกรรมในร่างผังเมืองรวมจังหวัดตรัง อนุญาตกิจการ
โรงงานประเภทที่ 105 - โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุ
ที่ไม่ใช้แล้วที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำาหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
139